สิ่งที่ควรรู้ก่อนการนวด เริ่มตั้งแต่เทคนิค ระบบร่างกาย และข้อควรระวัง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการนวด

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการนวด ก่อนที่เราจะทำการนวด เราควรศึกษาวิธีการนวด เทคนิค ระบบอวัยวะต่างๆ รวมไปถึงข้อควรระวังในการนวดด้วย หากว่าเรานวดไม่ถูกวิธี หรือนวดแล้วโดนอวัยวะสำคัญอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยมากขึ้นก็เป็นได้ เราจึงควรทำความเข้าใจหลักการเบื้องต้นให้ดีก่อนจะดีที่สุด

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการนวด และเทคนิคการนวด

การนวดนั้นจําเป็นต้องมีเทคนิคบางอย่างที่สําคัญที่เราจําเป็นต้องรู้ เพื่อจะทําให้การนวดนั้นๆ มีผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ โดยสิ่งที่ควรรู้มีดังต่อไปนี้

1. ท่านวด

ไม่ว่าเราจะนวดในท่าไหนก็ตาม ผู้ถูกนวดและผู้นวดจะต้องอยู่ในท่าที่เหมาะสมทั้งคู่ โดยต้องอยู่ในลักษณะที่ผ่อนคลายไม่เกร็ง ซึ่งส่วนมากแล้วผู้ที่ถูกนวดควรนอนหงาย หรือไม่ก็นอนตะแคงคุ้เข่า 90 องศา โดยให้ขาล่างที่ติดกับพื้นเหยียดตรง ส่วนขาบนงอเข่า เอาส้นเท้า ชิดเข่าของขาล่าง หากว่าเป็นท่านั่งส่วนใหญ่ก็ควรเป็นท่านั่งขัดสมาธิ ส่วนที่นอนก็ควรเป็นฟูกที่ไม่แข็งและไม่อ่อนเกินไป หมอนที่ใช้นอนก็ควรอยู่ในระดับเดียวกับกระดูกสันหลัง

2. การวางมือและนิ้ว

ในการนวดนั้นนิ้วของผู้นวดควรวางในตําแหน่ง ที่จะนวด เหยียดแขนตรงทั้งที่ข้อมือและข้อศอก จากนั้นให้ลงน้ําหนักไปตาม แขนสู่นิ้วหัวแม่มือ เพื่อให้การนวดนั้นเข้าตรงจุดที่ต้องการ ในบางท่าอาจใช้หัวแม่มือกด บางท่าอาจใช้อุ้งมือ หรือสันมือกด หรือ บางท่าใช้ปลายนิ้วมือทั้ง 4 กด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นท่าใดก็ตามควรวางลักษณะ ของมือและนิ้วให้เหมาะสมและถูกต้องกับท่าเหล่านั้นด้วย

3. ขนาดของแรงที่ใช้นวด

ในการนวดนั้นเรื่องของแรงที่ใช้นวดนั้นก็ สําคัญเช่นกัน โดยขนาดของแรงที่ใช้นวดควรเริ่มใช้แรงเบาๆ ก่อนแล้วค่อย เพิ่มแรงขึ้นตามลําดับ ซึ่งต้องพิจารณาอายุและสุขภาพของผู้ถูกนวดด้วยเป็น สําคัญ ในการใช้แรงนวดนั้นลักษณะการกดอาศัยการแต่งรสมือ โดยมีเคล็ด ว่า “หน่วง เน้น นิ่ง”

  • “หน่วง” หมายถึง การลงน้ําหนักเบา เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ รู้ตัวไม่เกร็งรับการนวด
  • “เน้น” หมายถึง การลงน้ําหนักเพิ่มขึ้นบนตําแหน่งที่ต้องการกด
  • “นิ่ง” หมายถึง กดนิ่งพร้อมกําหนดลมหายใจสั้นยาวตามต้องการ

ส่วนมากแล้วการลงน้ําหนักมือที่กดในแต่ละรอบ ผู้นวดนั้นจะเริ่มต้นด้วยน้ําหนักเบา น้ําหนักปานกลางและน้ําหนักมากตามลําดับ ซึ่งจะทําให้ผู้ถูกนวดรู้สึกเคยชินและผ่อนคลาย ส่งผลให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวังเอาไว้

4. ระยะเวลาที่ใช้นวด

การนวดแต่ละครั้งนั้นจําเป็นต้องให้ความ สําคัญเรื่องของระยะเวลาในการนวดด้วยเช่นกัน โดยผู้นวดจะต้อง กําหนดการนวดหรือการกดแต่ละจุดเป็นคาบ เพื่อความเหมาะสมของการ นวดแต่ละจุด ซึ่งจะเป็นดังนี้

  • “คาบน้อย” เป็นช่วงเวลาในการกดจุดโดยการกําหนดลมหายใจระยะ สั้นของผู้นวด
  • “คาบใหญ่” เป็นช่วงเวลาในการกดจุดโดยการกําหนดลมหายใจระยะ ยาวของผู้นวด

5. ตําแหน่งของจุดนวด

เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าสําคัญ ซึ่งอาจจะเป็นตําแหน่งที่กล้ามเนื้อ ร่องกล้ามเนื้อ แนวหลอดเลือด แนวเส้นประสาท รวมไปถึงข้อต่อก็เป็นได้ แต่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ของร่างกายของคนเราเป็นสําคัญ

ระบบของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย

หลักการนวดที่เราควรจะรู้ การนวดนั้น หากเราจะพูดในเชิงวิทยาศาสตร์จะเห็นได้ว่าเป็นการ บําบัดที่ต้องเข้าใจกลไกร่างกายก่อน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ “กายวิภาคศาสตร์” เป็นความรู้ที่ว่าด้วยระบบของอวัยวะต่างๆ ภายใน ร่างกายของมนุษย์เรา และ “สรีรวิทยา” เป็นความรู้ที่ว่าด้วยหน้าที่ของระบบ อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของมนุษย์เรา ซึ่งระบบต่างๆ ที่เราต้องรู้มีดังนี้

1. ระบบกระดูกและข้อต่อ

เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยกระดูกแกนกลาง กระดูกระยางค์ (กระดูกแขนและกระดูกขา) และข้อต่อ กระดูกเหล่านี้มี หน้าที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกายมนุษย์เรา โดยจะเป็นที่ยึดเกาะของ กล้ามเนื้อ เอ็น และพังผืด นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่สําคัญ ไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนโดยง่าย

2. ระบบกล้ามเนื้อ

เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ หน้าที่หลักๆ ที่สําคัญก็คือ ช่วยในการ เคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ระบบไหลเวียนเลือด

เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยระบบหัวใจ หลอดเลือด และน้ําเหลือง มีหน้าที่สําคัญๆ คือ ลําเลียงสารต่างๆ ใน ร่างกาย รักษาสมดุลกรด-ด่าง สมดุลน้ํา และรักษาระดับอุณหภูมิของ ร่างกาย เป็นต้น

4. ระบบประสาท

เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยสมอง ไขสันหลัง และ เส้นประสาท มีหน้าที่หลักที่สําคัญคือควบคุมประสานงานส่วนต่างๆ ของ ร่างกายให้ตอบสนองและรับรู้การทํางาน รวมไปถึงการดํารงชีวิตด้วย

5. ระบบย่อยอาหาร

เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยอวัยวะที่สําคัญ อย่างปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้ และทวารหนัก โดยมีหน้าที่สําคัญคือย่อยอาหาร ดูดซับอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกายและ ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

6. ระบบหายใจ

เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยโพรงจมูก หลอดลม ปอด กระบังลม ซึ่งมีหน้าที่สําคัญคือ นําก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ทําให้ เลือดดํามาฟอกที่ปอด ได้รับก๊าซออกซิเจนเปลี่ยนเป็นเลือดแดง นั่นจึงทําให้ การหายใจมีผลทางอ้อมต่อการไหลกลับของเลือด

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวด

การนวดนั้นมีทั้งโทษและประโยชน์อยู่ในตัวเอง นอกจากนั้นแล้ว ในการนวดแต่ละครั้งก็ยังมีข้อห้ามและข้อควรระวังเอาไว้ดังนี้

  1. การนวดที่ดีนั้นไม่ควรนวดหลังจากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ เพราะจะทําให้ระบบย่อยอาหารทํางานผิดปกติและเป็นอันตรายได้
  2. การนวดนั้นไม่ควรนวดในขณะร่างกายอ่อนเพลียมาก เพราะเป็นสภาพที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนมากกว่าการนวด หากฝืนนวดไปทั้งที่ ร่างกายไม่พร้อมอาจจะเกิดอันตรายได้
  3. ไม่ควรนวดภายหลังจากที่อาบน้ําเสร็จมาใหม่ๆ
  4. ควรหลักเลี่ยงการนวดในช่วงที่มีไข้สูง เพราะร่างกายยังไม่พร้อมสําหรับการนวด และอาจก่อเกิดอันตรายได้ นอกจากนั้นอาจจะนําพาเชื้อโรคมาติดอีกฝ่ายหนึ่งได้
  5. ไม่ควรนวดผู้หญิงที่มีอาการใกล้คลอด เพราะจะเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และเด็ก
  6. ไม่ควรนวดในช่วงที่กระดูกหักหรือดามเหล็กมา เพราะอาจจะกระทบกระเทือนต่อกระดูกส่วนดังกล่าว ทําให้การรักษานั้นไม่สัมฤทธิผลและอาจเกิดอันตรายได้
  7. ห้ามไม่ให้นวดในช่วงที่เป็นโรคหลอดเลือดหรือหลอดน้ําเหลือง อุดตัน เพราะเป็นการเสี่ยงทําให้โรคดังกล่าวกําเริบและเป็นอันตรายได้
  8. ไม่นวดในช่วงมีประจําเดือน เพราะอาจทําให้ระบบเลือดในร่างกายเดินแปรปรวนยิ่งขึ้นจนถึงขั้นเป็นลมได้
  9. ไม่ควรนวดให้ผู้ที่เป็นโรคติดต่อ อย่างเช่น โรคผิวหนัง วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  10. ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งไม่ควรนวด เพราะอาจทําให้เซลล์มะเร็งกระจายตัวได้เร็วขึ้น
  11. ไม่ควรนวดให้ผู้ที่เพิ่งประสบอุบัติเหตุทางสมองและไขสันหลังภายใน 24 ชั่วโมง
  12. ไม่ควรนวดให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเลือดออกที่เพิ่งเกิดเหตุใหม่ๆ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เลือดนั้นออกมากยิ่งขึ้น
  13. ไม่ควรนวดให้ผู้ที่เป็นแผล ยิ่งผู้ที่เป็นแผลอักเสบหรือฝีหนองด้วยแล้วยิ่งไม่ควร
  14. ไม่ควรนวดให้ผู้ที่ถูกไฟไหม้น้ําร้อนลวก เพราะจะทําให้แผลนั้น ปริแตกได้ง่าย

เตรียมความพร้อมก่อนการนวด

ในการนวดแต่ละครั้งจําเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องรู้จักเตรียมพร้อม เพื่อให้การนวดนั้นบรรลุผลตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งที่เราควรเตรียมพร้อมก่อนการนวดนั้นได้แก่ผู้นวด ถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้นวดที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. ผู้นวด

  1. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนวดอย่างแท้จริง ทราบจุดนวดหรือตําแหน่งนวด วิธีการนวด และเทคนิคการนวดโดยละเอียดและสามารถใช้ได้อย่างแม่นยํา
  2. ผู้นวดที่ดีต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพของตนเองเป็นประจํา
  3. การนวดแต่ละครั้งผู้นวดควรแต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย ควรอยู่ในชุดที่มีความสะดวกในการเคลื่อนไหวขณะนวด ที่สําคัญต้องเหมาะสมกับสถานที่ดังกล่าวด้วย
  4. ผู้นวดต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาดของร่างกาย อาทิ ต้อง ทําความสะอาดมือก่อนทําการนวด เล็บต้องตัดให้สั้น ไม่สวมเครื่องประดับ แหวนหรือนาฬิการะหว่างนวด รวมไปถึงไม่ควรดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ก่อนนวดด้วย
  5. หากผู้นวดมีอาการบาดเจ็บหรือเป็นโรคติดต่อ ไม่ควรทําการนวดเป็นอันขาด
  6. ผู้นวดต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการนวด มีสภาพจิตใจเป็นปกติ มีสติ และสมาธิทั้งก่อนนวด ระหว่างนวด และหลังนวด

2. ผู้ถูกนวด

เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทําให้การนวดนั้นสัมฤทธิผล ผู้ถูกนวด ต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจจึงจะดีที่สุด อีกทั้งควรอยู่ใน ลักษณะดังต่อไปนี้

  1. ผู้ถูกนวดควรแต่งกายให้เหมาะสม โดยสวมเสื้อผ้าที่สบาย ไม่หนา และไม่มีปมแข็ง เพราะทั้งหมดจะเป็นอุปสรรคต่อการนวด
  2. ให้ความร่วมมือในการนวด ก่อนที่จะนวดผู้ถูกนวดควรที่จะเตรียม ทั้งกายและใจให้พร้อมที่จะรับการนวด โดยกายนั้นต้องผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ส่วนจิตใจก็ต้องไม่เครียด ไม่วิตกกังวล เป็นต้น
  3. ผู้ถูกนวดควรมีร่างกายที่สะอาด ไม่เป็นแหล่งแพร่พันธุ์เชื้อโรค

3. สถานที่นวด

ในการนวดหากต้องการให้ได้ผลดี สถานที่ก็ควรเอื้ออํานวยต่อการนวดด้วยเช่นกัน ควรเป็นที่ที่อยู่ในบรรยากาศที่โล่งโปร่งสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เงียบสงบ และปราศจากสิ่งรบกวน หากจะให้ดียิ่งขึ้นควรใช้โทนสีและสิ่งของที่เป็นธรรมชาติ อีกทั้งควรเป็นที่ที่มีแสงสว่างส่องถึงพอประมาณด้วยจึงจะดีที่สุด

4. ตําแหน่งที่ควรระวังในการนวด

ตําแหน่งที่ควรระวังในการนวด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้นวดต้องรู้และมี ความเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง แต่สําหรับผู้ถูกนวดก็ควรรู้ไว้บ้าง เผื่อว่าจะเป็น ประโยชน์ต่อตนเองในระหว่างนวด

  1. กระหม่อมหน้า ในกรณีเด็กที่กระหม่อมยังไม่ปิดสนิท
  2. ทัดดอกไม้ หัวคิ้ว หน้าหู เส้นเลือดบริเวณข้างคอ
  3. ร่องไหปลาร้า มุมหัวไหล่ ใต้รักแร้ บริเวณข้อศอกด้านใน บริเวณ เส้นสร้อยข้อมือ
  4. บริเวณลิ้นปี ชายโครง รอบสะดือ 1 นิ้ว
  5. บริเวณใต้หัวตะคาก ใต้ลูกสะบ้า
  6. สันหน้าแข้งด้านหน้า บริเวณจุดนาคบาท ใต้ตาตุ่มด้านใน

สรุปสิ่งที่ควรรู้ก่อนการนวด

การที่เราศึกษาหลักการต่างๆ รวมไปถึงข้อควรระวังในการนวดเอาไว้ก่อนการไปนวด จะช่วยปกป้องเราจากอาการบาดเจ็บ และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้มากขึ้น เพื่อไม่ให้มีผลกระทบในระยะยาว และยังช่วยให้เราสามารถนวดรักษาโรคและอาการปวดเมื่อยต่างๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย

Summer Teas เราจะสุขภาพดี กินอิ่ม นอนหลับ แข็งแรงไปด้วยกัน

อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก