ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร โรคยอดฮิตของคนวัยทำงานปี 2023

ออฟฟิศซินโดรม

เชื่อว่านาทีนี้หนุ่มสาววัยทำงานหลายๆ คน คงไม่มีใครไม่รู้จักโรค ออฟฟิศซินโดรม แน่ๆ เพราะวิถีชีวิตคนเมืองในปัจจุบันและหน้าที่การงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำงานต่อเนื่องอย่างน้อยก็ต้องมี 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ย่อมต้องมีอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ หลัง และเอวกันบ้างแน่ๆ หากใครที่เริ่มมีอาการแล้วอย่าชะล่าใจไป รีบมาหาข้อมูลเพื่อทำการรักษากันตั้งแต่เนิ่นๆ กันดีกว่า ก่อนที่มันจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายและส่งผลกระทบกับร่างกายในอนาคต

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาการออฟฟิศซินโดรม กับพนักงานออฟฟิศนั้นเป็นของคู่กัน เพราะจากสถิติในปี 2564 พบว่า คนไทยกว่า 80% มีอาการออฟฟิศซินโดรม! แม้ไม่ได้ทำงานที่ต้องออกแรงยกของหนัก แต่อาการปวดกล้ามเนื้อของชาวออฟฟิศก็เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการนั่งทำงานและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม สะสมเข้าจนกลายเป็นออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว

นอกจากสภาพแวดล้อมการทำงานไม่เหมาะสมแล้ว การพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม ได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรม และโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้

ยานวดคลายเส้น บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลดีที่สุด

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีส่วนเข้ามามีบทบาทในการทำงานภายในองค์กรและสำนักงานมากขึ้น โดยในประเทศไทยมีแนวโน้มของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการทำงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวนถึงร้อยละ 93.5 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากความสามารถในการเชื่อมต่อถึงกัน แต่ก็ส่งผลให้องค์กรสำนักงานต่างๆ จำเป็นต้องสร้างความพร้อมทำการแข่งขันกันทำงธุรกิจให้มากขึ้นตามไปด้วย

ทำให้ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรต่างก็ต้องทุ่มเทให้กับการทำงานมากขึ้น เพื่อผลการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามเป้าหมายก่อให้เกิดสภาวะเครียดจากการทำงานเพิ่มขึ้น โดย 10% ของผู้ปฏิบัติงานในเมือง มีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมมากขึ้น  ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยชั่วโมงการทำงานที่มากขึ้นย่อมส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงแนวโน้มการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน อย่างเช่น โรคความผิดปกติของโครงร่างกล้ามเนื้อ (Work-Related Musculoskeletal Disorders, WMSDs) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของวัยทำงาน สาเหตุหนึ่งเกิดขึ้นจากโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งขึ้น สังเกตอาการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงานในสังคม จนอาจกล่าวได้ว่า โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมเป็นปรากฏการณ์ของโรคของวัยทำงานยุคใหม่

ออฟฟิศซินโดรม

โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer syndrome)

คือ ชื่อเรียกอาการเจ็บปวดสะสมจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีในชื่อที่เรียกรวมกันของกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากการทำงานสำนักงานว่า โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)เป็นลักษณะอาการเจ็บป่วยสะสม ที่เกิดจากการมีพฤติกรรมท่าทางการทำงานในอิริยาบทเดิม ๆ ของผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลานาน มีความเครียดประกอบจากการทำงาน และสภาพแวดล้อมจากการทำงานไม่เหมาะสม

ซึ่งโดยสรุปแล้วคนเมืองในยุคปัจจุบัน จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม เพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมการทํางาน โดยอาจจะมีการทํางานในอิริยาบถที่ ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น การนั่งหลังค่อม หรือการทํางานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยในระหว่างการทํางานไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถเลย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทํา ให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิเช่น บริเวณหลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ รวมถึงการส่งผลกระทบต่อสายตาและการมองเห็น

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่นั้น จะเกิดจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทํางาน ที่ไม่เหมาะสม กล่าวคือ ลักษณะสถานที่ทํางาน อุปกรณ์และเครื่องมือที่ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน เช่น

  • ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ตำ่กว่าระดับสายตา
  • ระยะห่างที่ไม่เหมาะสมระหว่างจอคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้
  • ระดับการวางมือขณะใช้คีย์บอร์ด
  • ที่รองแขนที่ไม่เหมาะสม
  • ความสูงและพนักเก้าอี้ที่ไม่สามารถปรับได้
  • บริเวณโต๊ะทํางานไม่มีแสงสว่างที่เพียงพอ

เป็นสาเหตุให้บุคคลที่ต้องนั่งทํางานอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ จะ เกิดภาวะกล้ามเนื้อตึงเครียด อักเสบ นําไปสู่การปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ

นอกจากนี้ โรคออฟฟิศซินโดรม ยังเกิดจากการพฤติกรรมในการทํางานที่ไม่ถูกต้อง เนื่องมาจากความเคยชินส่วนบุคคล เช่น การนั่งงอตัวหรือหลังค่อม จะส่งผลให้ข้อกระดูกสันหลังเกิด การโค้งงอผิดรูปมากขึ้น (Reversed Lordotic Curve) นอกจากนั้น หากนั่งในลักษณะท่านี้บ่อยๆ จะ ส่งผลให้หมอนรองกระดูกสันหลังมีแรงกดเพิ่มขึ้น ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลต่อแนวโครงสร้างและกระดูกสันหลังที่จะค่อยๆ เคลื่อนไปจากตําแหน่งปกติ เมื่อปัญหาเหล่านี้สะสมมากขึ้นก็จะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน

ยานวดคลายเส้น บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลดีที่สุด

ออฟฟิศซินโดรม อาการเป็นอย่างไร

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย คือ

  • การปวดหลัง
  • ปวดคอ
  • ปวดบ่า

โดยเฉพาะอาการปวดหลัง อันเนื่องมาจากการทํางานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น วันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงการนั่งหลังค่อม ทําให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทําให้กระบังลมขยาย ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทําให้เกิดอาการง่วงนอน ศักยภาพในการทํางานลดลง ซึ่งโรคออฟฟิศซินโดรมยังรวมไปถึงอาการกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณข้อ ทําให้ปวดในส่วนของปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้ นอกจากนั้น ยังพบว่าอาการไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด เป็นปัจจัยที่ทําให้อาการของโรค ออฟฟิศซินโดรม มีภาวะรุนแรงมากขึ้น

อาการบาดเจ็บจากการทํางานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  • การบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน (Acute Trauma Disorder: ATD)
  • การบาดเจ็บแบบสะสม (Cumulative Trauma Disorder: CTD)

ซึ่งโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นจะเป็นอาการเจ็บป่วยที่อยู่ในกลุ่มการบาดเจ็บแบบสะสม (Cumulative Trauma Disorder: CTD) การบาดเจ็บแบบสะสมเกิดจากการทํางานในท่าเดิมนานๆ เช่น การนั่งทํางานหน้าจอ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อทํางานในลักษณะเดิมอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อทํางานหนัก เกิดการบาดเจ็บแบบสะสม ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นที่ไม่ใช่อาการแบบ เฉียบพลัน ความรุนแรงของ

การบาดเจ็บแบบสะสม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1:

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยล้าในบริเวณที่ถูกใช้งานเป็นประจํา หลังจาก ทํางานต่อเนื่องไปได้ 3-4 ชั่วโมง และอาการจะหายไปทันทีเมื่อมีการได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หากไป พบแพทย์อาจตรวจไม่พบความผิดปกติทางโครงสร้างร่างกาย แต่เป็นเพียงความรําคาญหรือหงุดหงิด กับอาการเมื่อยล้าเท่านั้น

ระยะที่ 2:

ผู้ป่วยจะมีอาการปวด เมื่อยล้า ชา หรืออ่อนแรง หลังจากทํางานไปใน ระยะเวลาสั้นๆ (ประมาณ 1-2 ชั่วโมง) และต้องมีการลุกเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยครั้ง โดยอาการ มักจะเป็นคงค้างอยู่นานไม่หายไปทันที และส่งผลไปสู่การรบกวนการนอน หลังจากนอนพักอาการจะ ทุเลาลงบ้างเล็กน้อย เมื่อตื่นนอนจะมีอาการปวดตึง หากได้เคลื่อนไหวอาการก็เหมือนจะดีขึ้น แต่พอมาทํางานท่าเดิมๆ สักพักอาการก็กลับแย่ลงอีก ระยะนี้ถ้าผู้ป่วยดูแลตัวเองดีทําตามคําแนะนําของ แพทย์หรือนักกายภาพบําบัดที่เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาหายเป็นปกติได้

ระยะที่ 3:

อาการปวด เจ็บ ชา หรืออ่อนแรงจะมากขึ้นและเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งจะมีอาการตลอดเวลา แม้เพียงทํากิจวัตรประจําวันเล็กๆ น้อย ก็ปวดจนแทบทนทําต่อไม่ได้ ผู้ป่วยอาจจะ ต้องขอลาออกจากงาน เพราะไม่สามารถทนทํางานในหน้าที่ต่อไปได้อีก อาการปวดรบกวนการนอนของผู้ป่วยมาก จนผู้ป่วยพักผ่อนไม่เพียงพอ จําเป็นต้องหยุดงานเพื่อรักษาตนเองอย่างจริงจังและต้อง ใช้เวลาในการฟื้นฟูสภาพร่างกายยาวนาน

ยานวดคลายเส้น บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลดีที่สุด

โรค ออฟฟิศซินโดรม รักษาอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรม รักษาอย่างไร

สําหรับการรักษาอาการที่เกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรมนั้น ต้องทําในลักษณะผสมผสาน นั่นคือ รักษาตามอาการที่เกิดโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ ทํางานของตนเองด้วย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. การรักษาตามอาการปวดที่เกิดขึ้น

การรักษาอาการปวดนั้นมีหลากหลายวิธีและให้ผลการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น การ ใช้ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ การฝังเข็ม การนวด การทํากายภาพบําบัด (Rehabilitation) แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นชั่วคราว และสามารถกลับมาเป็นซำ้ ได้อีก เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข

2. การรักษาตามสาเหตุ

แนวทางในการแก้ไขหรือบรรเทาการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถการพิจารณา ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1) การแก้ไขหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในออฟฟิศให้ถูกสุขลักษณะ

เช่น ความสว่างของแสงไฟไม่เหมาะสม ขนาดของโต๊ะทํางาน เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ไม่ได้สัดส่วนหรือจัดวาง ไม่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ใช้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการนําหลักการทางการยศาสตร์มาประยุกต์ และปรับปรุงให้อุปกรณ์ เครื่องมือ และสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการทํางาน ตั้งแต่การออกแบบงานและกําหนดรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์ในการทํางานอย่างถูกต้อง กําหนดเวลา ทํางานที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงสภาพร่างกายมนุษย์

2) การพิจารณาสภาพร่างกายหรือการปฏิบัติตัวในการทํางานที่ไม่เหมาะสม

คือ การปฏิบัติตัวในการทํางานให้เหมาะสม โดยอาจจะเริ่มจากการปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกายให้ เหมาะต่อการทํางาน เช่น การไม่นั่งทํางานในท่าเดิมๆ นานจนเกินไป รวมถึงการฝึกท่ากายบริหารที่เหมาะสมและจําเป็นต่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันหรือบําบัดโรคออฟฟิศซินโดรม

ความรู้เกี่ยวกับการยศาสตร์ (Ergonomics)

จากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ปัจจัยด้านการจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม (Environmental Factor) ในสถานที่ทำงาน ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ย่อมส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติงานในอิริยาบทเดิมเป็นเวลานาน ทั้งนี้ นับว่าปัจจัยด้านการจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมในกลุ่มพนักงานผู้ปฏิบัติงานในออฟฟิศ ที่ผู้บริหารองค์กรทุกคนควรหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

ยุคแรกของการเริ่มต้นแนวคิดการยศาสตร์ (Ergonomics) เกิดขึ้นในปี 1857 โดย Wojciech Jastrzebowsk เป็นผู้บุกเบิกการตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับอาการทางกายภาพที่เกิดขึ้นจากการทำงาน (work-related physical symptoms) ซึ่งทำให้ผู้คนในขณะนั้นเริ่มหันมาให้ความสนใจโดยในยุคแรกนั้น ผู้คนเริ่มมีแนวคิดของการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ต่อมาจึงได้เริ่มหันมาให้ความสนใจ และทำความเข้าใจกับศาสตร์ด้านกายวิภาคศาสตร์เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นในวงจำกัดของเพียงทหารเท่านั้น

จนกระทั่งในยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มมีการพัฒนาขึ้น แนวคิดการยศาสตร์ (Ergonomics) จึงเริ่มมีการนำมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย โดยแนวคิดการยศาสตร์ในปัจจุบัน จากคำนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คือ แนวคิดการประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีววิทยามนุษย์และวิศวกรรมศาสตร์ให้สามารถเข้ากันกับผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน และได้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจากการทำงานสูงสุด หรือสามารถสรุปได้ว่า การยศาสตร์เป็นการปรับปรุงสภาพงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้มีความเหมาะสมหรือเข้ากับสรีระของผู้ปฏิบัติงานโดยเป็นการรวบรวมและใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน (Prevention) และลดความเสี่ยงใน การเกิดอาการบาดเจ็บสะสมของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องมาจากการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม

บทส่งท้าย

จะเห็นได้ว่าโรค ออฟฟิศซินโดรม นั้น ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย สามารถเกิดได้กับทุกคนโดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นหลัก และอาจจะเป็นในกลุ่มคนที่ติดการใช้มือถือด้วย เพราะมีการก้มหน้าและใช้นิ้วมือเลื่อนหน้าจอตลอดเวลา จึงเกิดปัญหาขึ้นกับสรีระร่างกายได้โดยเฉพาะช่วง คอ บ่า ไหล่ หลัง อย่างไรก็ดีแนวทางที่ดีที่สุดในการห่างไกลจากโรคร้ายดังกล่าวคือ การป้องกันเริ่มกันตั้งแต่เนิ่นๆ โดยพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในที่ทำงานให้เหมาะสม

ขอแนะนำว่าไม่ควรนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งทำงานนานๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบททุกชั่วโมง ขณะเดียวกันก็ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อได้เคลื่อนไหวและผ่อนคลาย จะทำให้บรรเทาอาการปวด เมื่อย ตึงคอ-บ่า-ไหล่-หลัง-เอว-ขา-น่อง ได้เป็นอย่างดี อย่าบอกว่าไม่มีเวลา การออกกำลังกายทำที่ไหน เมื่อไรก็ได้ นั่งทำงานก็ทำได้เช่นกัน

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง