วัคซีนโควิดยี่ห้อไหนดี

สถานการณ์วัคซีนโควิดในประเทศไทย

หลังจากเกิดคลัสเตอร์ ร้านผับชื่อดัง”คริสตัลทองหล่อ” ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา นับจากวันแรงงานล่วงมาแล้วเกือบ 1 เดือน ยอดผู้ติดเชื้อโควิดยังคงพุ่งไม่หยุดเป็นนิวไฮท์ในหลายๆวัน และยังติดเชื้อมากกว่าการล๊อคดาวน์ในรอบแรกของปี 2563 จนเกิดปรากฏการณ์โรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลแบบแปลงโรงแรมเป็น Hospital เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ วัยทำงานอย่างเราสามารถป้องกันหรือเตรียมตัวอย่างไรได้บ้าง Summer Teas ได้รวบรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่ง มาย่อยให้คุณประกอบการตัดสินใจรับมือกับโควิดในไทยของเรากันค่ะ

แต่ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรามาดูนโยบายปัจจุบันกันก่อน ว่าไทยเรามีวัคซีนอะไร และใครได้รับไปแล้วบ้าง จากการแถลงข่าวของนายกประยุทธ์ ครั้งล่าสุดเมื่อช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ ที่ผ่านมา

แผนการนำเข้าจัดเตรียมวัคซีนแต่ละชุดของรัฐบาล

ประเทศไทย เริ่มฉีด วัคซีนครั้งแรก วันที่ 28 กพ. 2564จำนวน 27,497 คิดเป็น 0.05% ของประชากร โดยมีการกระจายวัคซีนฉีดตามภูมิภาคดังนี้

วัคซีนโควิด ไทย

การฉีดวัคซีนลอตแรกนั้นเป็น วัคซีน sinovac ให้กับบุคคลกรทางการแพทย์ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง อย่างเจ้าหน้าที่พยาบาล อสม. เมื่อนับจนถึงเดือน 3พค. เรามียอดผู้ฉีดแล้วเป็นจำนวน 1.4 ล้านโดส ถือเป็น 1.1% ของประชากรในประเทศ ซึ่งเราสามารถดูยอดล่าสุดได้จากลิ้งค์นี้ *Global Vaccination Campaign โดยเรายังเหลือโดสจาก sinovac ที่รอการฉีดลอตสุดท้ายของเดือนพฤษภาคมนี้ อีกเป็นจำนวน (3.5- 1.4ล้านโดส *โดยใช้ฐานล้าน ในการประมาณเลข ณ วันที่3 พค.) และจะมีการนำเข้าวัคซีน AtraZeneca, Pfizer, Sputnik V ตามลำดับ และในเดือน มิถุนายน จนถึงสิ้นปี จะเป็น Astra Zeneca สำหรับ Pfizer – Sputnik V ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ โดยสามารถดูข้อมูลได้จากภาพอินโฟกราฟฟิคด้านล่างที่แนบมา ซึ่งผู้ที่ต้องการรับวัคซีนในแต่ละช่วงสามารถทำได้ด้วยการยืนยันตัวตนและทำเรื่องลงทะเบียนผ่านทางแอพพลิเคชั่น “หมอพร้อม” ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Infographic

Sinovac กับอาการคล้ายอัมพฤกษ์ในผู้หญิงไทย

หลังจากเริ่มให้มีการฉีดวัคซีนซิโนแวครอบแรกแล้ว ข่าวผลข้างเคียงของวัคซีนได้ปรากฏออกมา หลังจากผู้ได้รับการฉีดวัคซีนมีอาการเกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งภาพรวมอาการของผู้ได้รับผลข้างเคียงมีลักษณะคล้ายอัมพฤกษ์ ดังนี้ อาการเวียนศรีษะ หายใจไม่อิ่ม อ่อนแรง ชาที่แขนขา และสมองสั่งการช้า ซึ่ง 6 เคส ดังกล่าว เป็นเคสที่เกิดขึ้นจริง จากผู้หญิงไทยที่ได้รับวัคซีนจากทั่วประเทศ ข้อน่าสังเกตคือ เกิดกับผู้หญิงได้ทุกช่วงวัย

และล่าสุดคือ เคสสาวอ่างทองที่ทำงานเป็นพนักงานขาย หลังจากได้รับวัคซีนSinovac 2 วัน กลับเสียชีวิต โดยมีอาการอาเจียน ปวดหัว ปวดตามร่างกายร่วมด้วย คล้ายกับอาการของ 6 เคสข้างต้น ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการชันสูตร จึงยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าอาการเหล่านี้มากจากSide Effect ของวัคซีนSinovac 100%

นี่คือเนื้อความบางส่วนจากการยืนยันของพี่สาวผู้เสียชีวิต ” นส.วันเพ็ญ แพรเขียว อายุ 31 ปี(พี่สาว)กล่าวว่าอาการเริ่มแรกของน้องสาวไปฉีดวัคซีนโควิดมา เพราะบริษัทที่น้องทำงานให้ไปฉีด ซึ่งทราบว่าน้องสาวเสียชีวิต คือเมื่อตอนเช้าทางโรงพยาบาลปทุมราช ได้โทรมาบอกน้องไม่หายใจแล้ว ปั้มหัวใจแล้วไม่ขึ้น ทำไมน้องต้องฉีดซึ่งเป็นนโยบายของบริษัท ถ้าคุณไม่ฉีดต้องออกจากงาน ซึ่งเบื้องต้นบริษัทฯ ได้ช่วยเหลือเงินค่าทำศพเบื้องต้นมาแล้ว สุดท้ายฝากเป็นอุทาหรณ์ว่าเราป้องตัวเองดีกว่า อย่าไปฉีดเลยดีกว่าเพราะมันอันตรายมากเลย ป้องกันตัวเองดีกว่า ” (*อ้างอิง จากแหล่งข่าวสยามรัฐ)

สำหรับผู้ที่สนใจจะรับวัคซีน ทางSummerTeas ได้รวบรวมข้อมูลมาให้พิจารณา ทั้งฝั่งที่เกิดขึ้นจริงกับคนไทยและฝั่งต่างประเทศ สามารถทำความเข้าใจได้ผ่านหัวข้อถัดไปที่กล่าวถึง “ทั่วโลกใช้วัคซีนอะไรบ้าง ”

ส่วนยอดรวมผู้ได้รับวัคซีนและข้อมูลจากฝั่งรัฐบาล สามารถอัพเดทและตรวจสอบได้ที่เว็บไซด์นี้ ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่ทางรัฐบาลอัพเดทข่าวโควิดทุกวันและแจ้งยอดผู้ได้รับวัคซีนจากทุกภูมิภาค ข้อมูลจะตรงกับที่ ศบค.แจ้ง(ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) และหากผู้ที่มีคำถามด้านการกักตัวในกรณีที่มีญาติหรือผู้เกี่ยวข้องบินกลับประเทศไทยสามารถอ่านข้อมูลได้ที่นี้เช่นกัน

 

วัคซีนโควิด Sinovac ถูกฉีดในไทยแล้ว กว่า 1.5 ล้านคน ตั้งแต่ 28 กพ.2564 ซึ่งผู้ที่ได้รับก่อน คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 และมีแผนรองรับการนำเข้าวัคซีนAstra Zeneca ในระยะอันใกล้ ส่วนวัคซีน Pfizer และ Moderna ยังไม่ได้รับการยืนยันข้อมูล โดยวัคซีนที่ถูกนำเข้าจากจีนและเริ่มมีข่าวผลข้างเคียงคือ วัคซีนSinovac กับอาการคล้ายอัมพฤกษ์ กับหญิงไทยจำนวน 6 ราย และยอดสรุปรายวันของผู้ที่ได้รับวัคซีนในประเทศไทย

 

ทั่วโลกใช้วัคซีนอะไรบ้าง

ปัจจุบันวัคซีนที่ถูกใช้ทั่วโลกและได้รับการยืนยันเรื่องประสิทธิภาพ เกิน50% จากการทดสอบผ่านคนจริงๆ มีทั้งหมด 4 รุ่น โดยที่วัคซีนของรัสเซีย Sputnik V ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) แต่ผ่านการทดลองในวงกว้างเทียบ กับวัคซีนตัวอื่นๆแล้วนั้นมีประสิทธิภาพสูง ใกล้เคียงกับ Pfizer และ Moderna

ใครคือผู้ผลิต วัคซีน และวัคซีนแต่ละตัวมีหลักการอย่างไร

วัคซีนโควิด ตารางเปรียบเทียบ

ตัวที่ 1 วัคซีนของ ไฟเซอร์ (Pfizer) และไบออนเทค (BioNTech)

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา ไฟเซอร์ บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันอย่าง ไบออนเทค ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนของตน ด้วยปริมาณวัคซีน 2 โด๊ส ในระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เข้าไปในอาสาสมัครกว่า 43,500 คน ครอบคลุม 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ เยอรมนี บราซิล อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ และตุรกี วัคซีนของพวกเขาถูกทดลองด้วยการฉีดรหัสพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 ที่เรียกว่า RNA เข้าไปในร่างกายของมนุษย์ เพื่อให้ร่างกายพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า ‘ทีเซลล์’ (T-cells) ซึ่งปัจจุบันวัคซีนของพวกเขามีประสิทธิผลกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

ไฟเซอร์และไบออนเทคได้คาดการณ์ว่า พวกเขาจะสามารถผลิตวัคซีนได้จำนวน 50 ล้านโด๊ส ภายในเวลาสิ้นปีนี้ และจะผลิตอีก 1.3 พันล้านโด๊ส ภายในสิ้น ค.ศ.2021 การฉีดวัคซีนของพวกเขาเข้าร่างกายของผู้ป่วย จำเป็นจะต้องใช้ตัววัคซีนจำนวน 2 โด๊สต่อผู้ป่วย 1 คน โดยเงื่อนไขสำคัญของวัคซีนจากไฟเซอร์และไบออนเทค คือ ตัววัคซีนต้องเก็บรักษาในตู้เย็นที่มีอุณภูมิ -70 องศาเซลเซียส และเก็บในตู้เย็นธรรมดาได้เพียง 5 วัน

วัคซีนของพวกเขาเพิ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลของสหราชอาณาจักรไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันนี้ (2 ธ.ค.) โดยมันมีราคาอยู่ที่ 20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโด๊ส (ประมาณ 606 บาท) ทั้งนี้ มีประเทศที่ได้สั่งจองวัคซีนกับทางไฟเซอร์และไบออนเทคไปแล้ว ได้แก่ ประเทศในเครือสหภาพยุโรป 300 ล้านโด๊ส ญี่ปุ่น 120 ล้านโด๊ส สหรัฐฯ 100 ล้านโด๊ส สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และชิลี ได้สั่งจองวัคซีนจากพวกเขารวมกันอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านโด๊ส

    • การเจรจามาถึงขั้นตอนที่ภาครัฐและผู้ผลิตเข้าใจเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายแล้ว หากสั่งซื้อจะส่งได้ในช่วงครึ่งปีหลัง

วัคซีนของ โมเดอร์นา (Moderna)

หลังจากที่ ไฟเซอร์ และไบออนเทค ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนได้เพียง 1 สัปดาห์ ในวันที่ 16 พ.ย. บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ อย่างโมเดอร์นา ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนของตน พวกเขาใช้อาสาสมัครในการทดลองวัคซีนประมาณ 30,000 คนในสหรัฐฯ ซึ่งครึ่งหนึ่งถูกฉีดวัคซีนจำนวน 2 โด๊ส ในเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่มีประสิทธิผลหลังจากฉีดวัคซีนออกมาได้ดี ส่วนอาสาสมัครอีกครึ่งได้รับวัคซีนหลอก ในบรรดาผู้ที่ได้รับวัคซีนหลอกมีการติดเชื้อไป 90 คน จึงทำให้พวกเขาได้สรุปผลการทดลองว่า วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิผลกว่า 94.5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ พวกเขากำลังจะเตรียมยื่นขอการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ในวันจันทร์หน้า (7 ธ.ค.)

วัคซีนของพวกเขาใช้วิธีคล้ายกันกับวิธีการทดลองผ่านการใช้ RNA ที่ฉีดเข้าไปในร่างกายของมนุษย์แบบเดียวกันกับไฟเซอร์และไบออนเทค เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของพวกเรา ในทางกลับกัน ประสิทธิผลของวัคซีนจากโมเดอร์นา ให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่าวัคซีนจากไฟเซอร์และไบออนเทค วัคซีนของโมเดอร์นายังสามารถเก็บอยู่ในตู้เย็นที่มีอุณภูมิติดลบต่ำกว่ากว่าไฟเซอร์และไบออนเทค ในอุณภูมิที่ -20 องศาเซลเซียส โดยวัคซีนจะมีอายุได้นาน 6 เดือน แต่ถ้าหากเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดา วัคซีนจะมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน พวกเขาวางแผนจะผลิตวัคซีนในระดับโลกจำนวน 500-1,000 ล้านโด๊ส ภายใน ค.ศ.2021

วัคซีนของพวกเขายังคงอยู่ในขั้นที่ 3 และยังคงไม่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ วัคซีนของพวกเขามีราคาแพงกว่าของไฟเซอร์และไบออนเทค โดยมีราคาอยู่ที่ระหว่าง 32 – 37 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 969-1,120 บาท) ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้สั่งจองของพวกเขาไปแล้ว 100 ล้านโด๊ส ตามมาด้วย แคนาดา 56 ล้านโด๊ส สหราชอาณาจักร 50 ล้านโด๊ส และสวิสเซอร์แลนด์ 4.5 ล้านโด๊ส

    • หากทุกอย่างลงตัวน่าจะได้วัคซีนในไตรมาส 4 ของปีนี้เช่นเดียวกับวัคซีน Johnson & Johnson

วัคซีนของ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) และแอสทราเซเนกา (AstraZeneca)

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อ็อกซ์ฟอร์ด และแอสทราเซเนกา ได้ประกาศความสำเร็จในการทดลองวัคซีนของตนเอง ที่ได้ผล 70-90 เปอร์เซ็นต์ จากอาสาสมัคร 11,636 คน แต่วัคซีนของพวกเขากลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทดลองที่พวกเขากล่าวอ้างว่ามีประสิทธิผลกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้น ดันเป็นการทดลองจากอาสาสมัคร 2,741 คน ซึ่งอาสาสมัครในจำนวนนี้ ได้รับวัคซีนเพียงแค่ครึ่งโด๊สเท่านั้น ในขณะที่อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส กลับเกิดประสิทธิผลเพียงแค่ 62 เปอร์เซ็นต์

วัคซีนของพวกเขาผลิตขึ้นจากการดัดแปลงไวรัสไข้หวัดทั่วไปที่อ่อนแอลงแล้ว หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘อะดีโนไวรัส’ (adenovirus) โดยมีวิธีการทดลองผ่านการนำเชื้อข้างต้น ที่ได้มาจากลิงชิมแปนซีนไปดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อที่เชื้อไวรัสนี้จะไม่สามารถขยายตัวในมนุษย์ได้ จากนั้นพวกเขาได้นำยีนที่ได้มาจากปุ่มโปรตีนของเชื้อไวรัส COVID-19 ไปใส่ในไวรัสไข้หวัดที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้มันไม่เป็นอันตรายต่อคน ข้อดีของวัคซีนตัวนี้ คือ มันสามารถถูกเก็บอยู่ในตู้เย็นปรกติได้

วัคซีนของพวกเขามีราคา 2.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโด๊ส (ประมาณ 76 บาท) ปัจจุบัน มีผู้สั่งจองวัคซีนของพวกเขาหลายราย ได้แก่ สหรัฐฯและอินเดีย ประเทศละ 500 ล้านโด๊ส สหภาพยุโรป 400 ล้านโด๊ส โครงการ COVAX 300 ล้านโด๊ส รวมไปถึงสหราชอาราจักร ญี่ปุ่น อินโดนิเซีย บราซิล และลาตินอเมริกา รวมกันประมาณ 100 ล้านโด๊ส ซึ่งไทยเองก็ได้สั่งจองวัคซีนจากทางอ็อกซ์ฟอร์ด และแอสทราเซเนกา ในจำนวน 26 ล้านโด๊สด้วย โดยทางการจะได้รับวัคซีนในกลางปีหน้า เช่นเดียวกันกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์ ที่สั่งจองวัคซีนเจ้านี้ไปทั้งหมด 2.6 ล้านโด๊ส

    • นี่คือวัคซีนหลักของไทย ซึ่งมีสายการผลิตในประเทศ ผู้ผลิตยืนยันแล้วว่าจะส่งให้ไทยในเดือนมิถุนายนนี้แน่นอน

วัคซีนของ กามาเลยา (Gamaleya) หรือ สปุตนิก 5 (Sputnik V)

กามาลายา หรือสปุตนิก บริษัทผู้ผลิตวัคซีนจากรัสเซียได้ประกาศว่า พวกเขาได้ทดลองวัคซีนของพวกเขาแล้ว ซึ่งมันมีประสิทธิผลกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ จากการทดลองด้วยวัคซีน 2 โด๊ส ในอาสาสมัคร 16,000 คน ที่ทดสอบในรัสเซีย เบลารุส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวเนซูเอลา และอินเดีย ทั้งนี้ ยังคงไม่มีรายงานที่อ้างอิงจากการวิจัยจากการทดลองดังกล่าวเพื่อรับรองประสิทธิผลวัคซีนของพวกเขา

พวกเขาใช้วิธีดัดแปลงพันธุกรรมเชื้อ COVID-19 เพื่อให้มันเป็นพาหะ ทั้งนี้ วัคซีนของพวกเขาสามารถเก็บรักษาในตู้เย็นปรกติได้เช่นเดียวกันกับวัคซีนของอ็อกซ์ฟอร์ด และแอสทราเซเนกา พวกเขาคาดว่าราคาวัคซีนที่จะถูกผลิตออกมาน่าจะต่ำกว่า 20 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 605 บาท) โดยมีประเทศที่สั่งจองวัคซีนจากกามาลายารวมกันประมาณ 1 พันล้านโด๊ส ได้แก่ รัสเซีย เบลารุส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวเนซูเอลา คาซัคสถาน บราซิล ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย และอินเดีย

    • เพิ่งได้เริ่มต้นเจรจา และพร้อมขึ้นทะเบียนเมื่อได้รับเอกสารครบถ้วน

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขของไทยเปิดเผยว่า หลังจากที่แอสทราเซเนกาขึ้นจดทะเบียนในสหราชอาณาจักรเสร็จ แอสทราเซเนกาจะร่วมมือกับไทยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีมายัง บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งจะเป็นบริษัทของคนไทยที่จะผลิตวัคซีนดังกล่าว ขณะที่ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็น บริษัทสตาร์ทอัพ ของคณะเภสัชศาสตร์จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนจากใบยาสูบชนิดพิเศษที่กำหนดให้สร้างโปรตีนสำหรับทำวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ได้แล้ว แต่โครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร โดยจากรายงานล่าสุด ไทยอาจผลิตและมีวัคซีนด้วยตนเองในช่วงปลายปี 2564

โดยสรุปแล้ว วัคซีนที่เป็นที่นิยมข้างต้น 4 รุ่นข้างต้นได้รับการอนุญาตให้ใช้แตกต่างพื้นพี่กันไป ซึ่งยังมียี่ห้ออื่นจากผู้ผลิตอื่นๆให้ได้ทราบกับอีก 9 รุ่น

      1. ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNtech)
      2. โมเดอร์นา (Moderna)
      3. แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)
      4. ซิโนฟาร์ม ปักกิ่ง(Sinopharm-Beijing)
      5. ซิโนฟาร์ม ปักกิ่ง อู่ฮั่น (Sinopharm-Wuhan)
      6. ซิโนแวค (Sinovac)
      7. Gamaleya ผู้ผลิตสปุตนิก วี (Sputnik V) ของรัสเซีย
      8. แคนซิโน **(Cansino)
      9. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
      10. อันฮุย จื้อเฟย หลงเคอ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Anhui Zhifei Longcom /IMCAS)
      11. Vector Institute
      12. ภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ของอินเดีย
      13. เงื่อนไขการขึ้นทะเบียนวัคซีนของWHOมีลักษณะอย่างไร

การขึ้นบัญชีใช้งานฉุกเฉินสำหรับวัคซีนโควิด-19 ของ WHO เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการสั่งซื้อวัคซีนของโครงการแบ่งปันวัคซีน COVAX ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งปันและช่วยเหลือประเทศยากจนให้เข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ขณะที่ยังเป็นการช่วยให้ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนสำหรับประเทศที่มีระบบกำกับดูแลวัคซีนไม่เข้มแข็ง

จนถึงวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา พบว่า WHO ได้ขึ้นบัญชีใช้งานฉุกเฉินสำหรับวัคซีนต้านโควิด-19 ที่ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยแล้ว 4 ตัว ได้แก่ วัคซีนจาก Pfizer/BioNTech Moderna และวัคซีนจาก AstraZeneca/Oxford ที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มในอินเดียและ SKBio ของเกาหลีใต้ รวมถึงวัคซีน Janssen ของ Johnson & Johnson

 

ขณะที่วัคซีนจากจีนอย่าง Sinovac ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตายที่ผลิตจากไวรัสที่ไม่มีชีวิตแล้ว หรือ Inactivated Vaccine มีการใช้งานแล้วในหลายแห่ง เช่น ฮ่องกง บราซิล และไทย แต่ผลทดลองวัคซีนล่าสุดที่บราซิลยังเป็นที่จับตามอง เนื่องจากมีอัตราประสิทธิภาพในป้องกันการติดเชื้อเพียง 50.7% ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของ WHO ที่กำหนดไว้ 50% ไปแบบฉิวเฉียด *อ้างอิง Reuters และ WHO

 

กรณีศึกษาวัคซีน Sinovac ในประเทศตุรกี บราซิล และอินโดนีเซีย

ประเทศตุรกี, บราซิล และ อินโดนีเซีย เป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับอนุมัติวัคซีนSinovac เป็นการฉุกเฉิน ไปแล้วกว่า 100 ล้านโดน โดยมีสัญญาการซื้อขาย แบ่งเป็น

    • 50 ล้านโดสที่เซ็นสัญญาซื้อขายในประเทศ ตุรกี คิดเป็น 60.9% จากประชากรทั้งหมด 82 ล้านคน ปัจจุบัน ฉีดไปแล้ว จำนวน 13 ล้านคน
    • 120 ล้านโดสเซ็นสัญญาซื้อขายในประเทศ บราซิล คิดเป็น 56.2% จากประชากรทั้งหมด 211 ล้านคน ปัจจุบัน ฉีดไปแล้ว จำนวน 30 ล้านคน
    • 3 ล้านโดส เซ็นสัญญาซื้อขายในประเทศ อินโดนีเซีย คิดเป็น 1.1% จากประชากรทั้งหมด 270.6 ล้านคน ปัจจุบัน ฉีดไปแล้ว จำนวน 3 ล้านคน

ทั้งนี้เป็นการเซ็นสัญญาในช่วงปลายปี 2020 และถูกถยอยฉีดจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี2021 ช่วงเมษาเวลาเท่ากันกับบ้านเรา ฝั่งประเทศตุรกีได้มียอดผู้ติดเชื้อโควิดพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้ติดเชื้อรายวันราว 5000คน ต่อวัน และเตรียมล๊อคดาวน์เต็มรูปแบบครั้งแรก หลังจากได้รับวัคซีนไปกว่า 13 ล้านคนของประชากรในประเทศ จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าวัคซีนซีโนแวคนั้นได้ประสิทธิภาพที่ดีจริงหรือไม่ และตามมาด้วยข่าวผลการทดลองที่คลาดเคลื่อนของแต่ละประเทศจนเป็นที่น่ากังขา

วัคซีนโควิด ตุรกี

ภาพ BBC , ภาพการใช้ขนส่งเพื่อกลับบ้านเตรียมตัวล๊อคดาวน์ ช่วง 19 เมษา -17 พฤษภาคม 2021

กรณีศึกษาวัคซีนในเอเชีย

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา สิงคโปร์เป็นชาติแรกที่มี จำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด และมีกลุ่มวัคซีนเพียง 2 แบรนด์นั่นคือ Pfizer และ Moderna ส่วน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มีวัคซีน 2 ยี่ห้อที่เหมือนกับไทยเรา คือ Sinova และ AstraZeneca มองในระดับภาพกล้างขึ้นไปอีก เราจะพบว่า ประเทศจีน ใช้วัคซีนที่ชื่อ Sinopharmให้กับคนในประเทศของตนเอง แต่ผลิตSinovac เพื่อการขายให้กับประเทศอื่นๆ และหนึ่งในผู้ถือหุ้นSinovac นั่นก็เป็นนักลงทุนจากไทยด้วย ในอนาคตเราคงจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น จากประเทศ บรูไนและลาว ที่ได้รับวัคซีน Sinopharm แบบไม่มีSinovac เข้าร่วม

ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วในทุกประเทศ รวมกัน 28,133,888 โดส ได้แก่

    1. สิงคโปร์ จำนวน 2,213,888 โดส (ครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 19.5% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
    2. กัมพูชา จำนวน 1,915,966 โดส (5.7% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm Sinovac และ AstraZeneca
    3. อินโดนีเซีย จำนวน 18,556,227 โดส (3.5% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
    4. มาเลเซีย จำนวน 1,290,414 โดส (2% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Sinovac
    5. ลาว จำนวน 179,525 โดส (1.2% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ Sputnik V
    6. พม่า จำนวน 1,040,000 โดส (1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
    7. ไทย จำนวน 1,124,153 โดส (0.8% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
    8. ฟิลิปปินส์ จำนวน 1,612,420 โดส (0.7% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
    9. บรูไน จำนวน 2,323 โดส (0.3% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ AstraZeneca
    10. เวียดนาม จำนวน 198,972 โดส (0.1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca

※ ทั่วโลกมีวิธีการผลิตวัคซีน และเทคโนโลยีแตกต่างกัน โดยสิ่งสำคัญคือ ข้อมูลที่เปิดเผยและจำนวนประสิทธิภาพของผู้ทดลองใช้ จะเห็นว่าPfizer Moderna Sputnik มียอดผู้ทดลองใช้และเห็นผลในระดับหลักหมื่น ทำให้หลายประเทศไว้วางใจและมีการจับจองเซ็นต์สัญญาซื้อขายกัน และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ วัคซีนSinovac ที่รัฐบาลจีนผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเท่านั้น ไม่ได้ถูกใช้ป้องกันโควิดสำหรับคนในประเทศ ซึ่งวัคซีนที่จีนใช้สำหรับชาวจีน นั่นคือ Sinopharm

 

ทางเลือกอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรับวัคซีน

ในทุกวันที่มีข่าวใหม่อัพเดทกันอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลมากมายในอินเตอร์เนตช่วยให้เราสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายวิธีการทั้งบทความ วิดีโอ ข่าว ช่วยให้การรับรู้เรื่องวัคซีนและผลงานวิจัยต่างๆ มีหลักฐานยืนยัน จากข้อมูลข้างต้นน่าจะช่วยให้การตัดสินใจรับหรือไม่รับวัคซีนของคุณนั้นง่ายขึ้น ส่วนกระแสที่กำลังมาแรงไม่แพ้กันนั่นคือ ธุรกิจแนวใหม่ที่ปรับตัวให้เข้ากับวิกฤติได้อย่างทันท่วงที เราลองไปดูกันว่าธุรกิจใหม่นี้อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่เราแฮปปี้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนในไทย แต่ไปเลือกรับวัคซีนจากที่อื่นแทนและได้โอกาสพักผ่อนไปด้วย

วัคซีนโควิด ทัวร์2

เลือกเที่ยวด้วยและรับวัคซีนโควิดด้วยก็เริ่มมีแล้วน่ะ

ฝั่งประเทศสหรัฐ ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวในรัฐที่กำหนด สามารถเข้ารับวัคซีนได้ฟรี และเลือกรับวัคซีนได้ด้วย ซึ่งเรียกกันว่า ” Vaccine Tourism ” โดยขึ้นอยู่กับรัฐที่ชาวต่างชาติจะเข้าไปรับมีบริการวัคซีนตัวใด ใครที่มีงบประมาณและวีซ่าพร้อมในมือ ทางเลือกนี้SummerTeas ก็เห็นว่าเข้าตาไปอีกแบบ บางรัฐจะให้บริการเฉพาะวัคซีนของ Johnson & Johnson เช่น รัฐ Sanfrancisco หรือบางรัฐก็ยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับนโยบาย ถ้าเราจะไปรัฐไหนก็ต้องหาข้อมูลและเช็คให้ดีๆก่อน

ใครที่สนใจสามารถเลือกรัฐและอ่านรายละเอียดของวัคซีนที่ให้บริการได้ เพราะรัฐที่ให้บริการวัคซีน อย่างPfizer จะต้องเลือกอยู่ยาวเพราะเป็นการรับวัคซีน 2 เข็ม สามารถเลือกรัฐที่คุณสนใจจาก Vissaplace นี้ได้เลยจ้า ส่วนใครที่อยากไปแบบชิวๆมีทัวร์พาไปไม่ต้องจัดการเอกสารให้ยุ่งยากที่ทัวร์ไทยก็เริ่มมีแล้วน่ะ ลองดูจากลูกค้าในเฟสบุ๊คที่มาเม้นต์กันใหญ่ ราคาเริ่มต้น 1.7 แสน แต่ถ้าไปหลายคนก็จะราคาลดหลั่นกันมา ระดับ7-8 หมื่น รัฐซานฟานซิสโกนี้ให้คุณเลือกฉีดแบบ 1 เข็ม และทัวร์เป็นเวลา 7 คืน

ฝั่งทะเล๊ ทะเลสวยน้ำใส อย่างมัลดีฟ ก็มีแล้วเช่นกันแถมใกล้เปิดรับนักท่องเที่ยวแล้วด้วย รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวของมัลดีฟส์ ยังระบุด้วยว่า โครงการดังกล่าว เป็น 1 ในกลยุทธ์ 3V เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวของมัลดีฟส์ ได้แก่ Visit คือ เยี่ยมเยือน Vaccinate คือ ฉีดวัคซีน และ Vacation คือ การพักร้อน

วัคซีนโควิด ทัวร์

ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวที่จะมาเยือนมัลดีฟส์จะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบ “ตรวจสารพันธุกรรม” (PCR) ก่อนเและจะต้องมีหลักฐานการจองโรงแรมเพื่อเข้าใช้บริการ โดยรัฐบาลยังยืนยันว่า รัฐบาลจะทำให้มั่นใจว่า ประชาชนชาวมัลดีฟส์ทั้งหมดจะได้รับวัคซีนก่อน และเมื่อใดก็ตาม ที่กระบวนการดังกล่าวเสร็จสิ้น มัลดีฟส์ก็พร้อมที่จะฉีดวัคซีนให้กับนักท่องเที่ยว หลังมัลดีฟส์ได้รับบริจาควัคซีนมาจากอินเดีย จีน และองค์การอนามัยโลก ภายใต้โครงการโคแวคซ์ ที่มีจุดมุ่งหมายด้านการกระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม นอกจากนี้ มัลดีฟส์ยังได้สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติมมาจากสิงคโปร์ด้วย

ถ้ามีประกัน แล้วยังไม่อยากฉีด แบบนี้เราเลือกได้ไหม

ปัจจุบันประกันโควิดมีรูปแบบรองรับอาการแพ้จากการฉีดวัคซีนโควิด หรือเลือกที่จะไม่ฉีดวัคซีนแต่รองค่าใช้จ่ายหากติดเชื้อก็ยังคงมีอยู่หลากหลายแบรนด์ ซึ่งจะมีเงื่อนไขอย่างไร ชาวSummerTeas สามารถติดตามได้ในคอนเท้นต์ถัดไปได้ค่ะ ให้เป็นอีกช่องทางที่ทำให้คุณสบายใจได้ทั้งคนที่อยากฉีดวัคซีนและยังไม่อยากฉีดวัคซีนโควิด

ประกันโควิดจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้คุณๆใจชื้นได้ว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งการรักษา ค่ายา จะถูกดูแลอย่างครอบคลุมได้ เช่น ” เจอ จ่าย จบ” และอื่นๆอีกมากมาย ที่เราหยิบเคสจริงมาเล่าให้ฟังกันค่ะ จาก Youtube คุณพีท NFTnCRYPTO Pete

วัคซีนโควิดตัวไหนดี รีวิว

ถ้าเลือกฉีดวัคซีนแล้ว เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

เริ่มจากเช็คโรคประจำตัวตนเอง ตรวจสอบรอบลงทะเบียน > ลงทำเบียนรับสิทธิ์ > เลือกรพ.เพื่อจองสิทธิ์ > เข้ารับวัคซีนตามนัด

รอบการรับวัคซีน

เดือน พฤษภาคม นี้จะเป็นรอบของ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และเริ่มรับวัคซีนได้ในช่วง 7 มิถุนายน เป็นต้นไปเดือน กรกฏาคม จะเป็นรอบอายุ 18-59 ปี และเริ่มรับวัคซีนได้ในช่วง สิงหาคม ถัดมา

ตรวจสอบกลุ่มโรคเรื้อรัง

      1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี
      2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
      3. โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 (ระยะสุดท้าย)
      4. โรคหลอดเลือดสมอง
      5. โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
      6. โรคเบาหวาน
      7. โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

วัคซีนโควิดตัวไหนดี ไทย3

วิธีลงทะเบียนแอพพลิเคชั่น สามารถทำตามขั้นตอนได้ที่ VDO สาธิตโดยคลิกที่ลิ้งค์นี้  เพื่อเข้าสู่ระบบลงทะเบียนไลน์ โอเอ หมอพร้อมได้เลย ซึ่งรอบของเราชาวSummerTeas จะอยู่ในรอบเดือนกรกฏาคม และหากเป็นไปตามไทม์ไลน์การฉีดวัคซีนข้อมูลข้างต้น วัคซีนที่เราจะได้รับคือ Astra Zeneca

ทางเรามีข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นวัคซีนที่ได้เริ่มใช้ในไทย ทั้ง 2 ตัว มีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันดังนี้

1.ด้าน ‘ความปลอดภัย’ วัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนเชื้อตาย คือผลิตจากไวรัสที่ไม่มีชีวิตแล้ว จึงถือว่ามีความปลอดภัยสูง ซึ่งผลการทดลองก็พบว่าวัคซีน Sinovac มีผลข้างเคียงน้อยกว่า และไม่มีอาการรุนแรง ในขณะที่วัคซีน AstraZeneca เป็นการใช้ไวรัสอะดิโนที่ก่อโรคในลิงชิมแปนซีเป็นตัวพา (Adenoviral Vector) ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่า แต่ไม่รุนแรง เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผู้สูงอายุจะพบน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่

2.ด้าน ‘ประสิทธิภาพ’ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการทดลองวัคซีนสามารถวัดผลการป้องกันโรคได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การป้องกันการติดเชื้อ การป้องกันโรคแบบมีอาการ จนถึงการป้องกันอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ตัวเลข 50.4% ของวัคซีน Sinovac ที่บราซิล เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการตั้งแต่น้อยมาก ในขณะที่ตัวเลข 70.4% (62.1-90.0%) ของวัคซีน AstraZeneca เป็นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคแบบมีอาการ จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยตรง

แต่ตัวเลขที่น่าจะเปรียบเทียบกันได้มากที่สุดคือการป้องกันการติดเชื้อทุกรูปแบบ เท่ากับ 54.1% ซึ่งใกล้เคียงกันมาก และอีกตัวเลขหนึ่งคือประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ซึ่งทั้งคู่ทำได้ 100% เหมือนกัน

ส่วน ‘ผู้ที่สามารถฉีดวัคซีนได้’ ขณะนี้วัคซีน Sinovac ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาประสิทธิภาพในผู้สูงอายุ (กลุ่มตัวอย่างน้อย อย. จึงไม่อนุมัติ) ทำให้สามารถฉีดได้เฉพาะในกลุ่มอายุ 18-59 ปี ดังนั้นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จึงต้องฉีดวัคซีน AstraZeneca สำหรับผู้มีโรคประจำตัวสามารถฉีดได้ทั้งคู่ ส่วนข้อห้ามคือผู้ที่แพ้รุนแรงจากการฉีดครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการยังไม่คงที่ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจที่เพิ่งรักษาหาย ยังไม่แนะนำให้ฉีด

 

บทสรุปเลือกอย่างไร แล้วสบายใจทุกฝ่าย

จากข้อมูลทั้งหมดที่เรา SummerTeas ได้รวบรวมมานี้ เพราะอยากให้ข้อมูลจากทุกๆประกอบการตัดสินใจกับเรื่องสำคัญที่ส่งผลกับชีวิตวัยทำงานของเรา เพราะเราก็เป็นหนึ่งในคนทำงานที่ดูแลตัวเองและครอบครัวเช่นเดียวกันกับคุณ ข้อมูลที่เยอะมากมายจากทางภาครัฐ-เอกชน-สื่อต่างประเทศ เราจึงอยากนำเสนอทางเลือกด้วยการรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกฉีด หรือไม่เลือกฉีดวัคซีน เรามีแนวทางการเตรียมรับมือให้กับทุกๆวิธี การทำให้ตัวเองมีทางเลือกเป็นสิ่งดีที่สุดที่เราจะให้กับตัวเองได้ค่ะ เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อเรามีทางเลือและดูแลตัวเองได้ย่อมนำมาซึ่งการดูแลผู้อื่นได้ด้วยเช่นกันค่ะ

วัคซีนโควิด ไทย2

สำหรับ ผู้ที่เลือกฉีด ให้ลงทะเบียนผ่านแอพหมอพร้อมได้เลย หรือสามารถลงทะเบียนรับวัคซีนผ่านหน่วยของรพ.โดยตรงทั้งเอกชนและรัฐบาล กรณีลงทะเบียนผ่านหมอพร้อม จะกลับมาเปิดให้บริการในช่วง 14 มิถุนายน 2564  โดยมีวัคซีนที่นำเข้ามาแล้วคือ Sinovac และ AstraZeneca

สำหรับ ผู้ที่ไม่เลือกฉีด คุณสามารถรอวัคซีนทางเลือกอื่นที่มีแนวโน้มจะนำเข้าในช่วงปลายปี หรือแนวทางปฏิบัติอื่นๆ เผื่อไว้ให้คุณได้ตัดสินใจในอนาคตเช่น ซื้อทัวร์เที่ยวพร้อมแพคเกจวัคซีน หรือ การซื้อประกันโควิด หากเลือกที่จะไม่ฉีดวัคซีนทุกชนิด แต่ยังความคุ้มครองเมื่อเข้ารับการรักษาหากติดเชื้อ โดยรายละเอียดเรื่องประกันจะเข้มข้นและเจาะลึกเพียงใด ชวนกินติดตามในคอนเท้นต์ถัดไป

จากใจชาวSummerTeas 😉

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง