อาการ ออฟฟิศซินโดรม รักษา ได้หลากหลายวิธีตามความหนักเบาของอาการที่เกิดขึ้นกับแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการไม่หนักมากสามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการการทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือใช้ยานวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ไปก่อน แต่หากว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรังควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อทำการรักษาต่อไป
อาการ “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” นั้น ถือว่าเป็นโรคที่พบได้เยอะในกลุ่มคน Gen Y และกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ เพราะลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา และพื้นที่ทำงานเช่น โต๊ะ เก้าอี้ และคอมพิวเตอร์ อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นไปตามหลักกลศาสตร์ จึงทำให้มีอาการปวดตึงตามร่างกายในบริเวณคอ ไหล่ หลัง เอว หากเป็นเรื้อรังมากอาจส่งผลไปถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้
Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง
อาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
- นิ้วล็อก (trigger finger)
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
- ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
- หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)
อาการ ออฟฟิศซินโดรม รักษา อย่างไร
1. รักษาด้วยยา
ธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่เห็นผลได้เร็วที่สุดโดยที่กินปุ๊ป อาการของคุณจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 1 วัน โดยปกติแล้วยาแก้ไขอาการออฟฟิศซินโดรมจะมีอยู่ 2 อย่างคือยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งคุณสามารถไปโรงพยาบาลให้หมอตรวจแล้วให้หมอสั่งจ่ายยาก็ได้ (แต่วิธีนี้จะค่อนข้างแพง) ทางเลือกก็คือไปปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาอย่างเช่น Boots หรือ Watson ราคาจะถูกกว่าค่อนข้างมาก
ข้อด้อยของวิธีนี้ก็คือ อาการของคุณจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมภายใน 3-4 วันถ้าคุณไม่กินยา
2. ทำกายภาพบำบัด
ด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดตามความเหมาะสมของอาการเช่น
- อัลตร้าซาวด์
- เลเซอร์รักษา
- การกระตุ้นไฟฟ้า
- การประคบร้อน
- การยืดกล้ามเนื้อ
การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึงการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อที่อาจเกิดตามมาจากการออกกำลังแบบผิดวิธี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
และเมื่อมีอาการเกิดขึ้นและไม่สามารถทุเลาได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น การพักผ่อนนอนหลับ การนวด หรือการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นจากโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หรือมีภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เพื่อจะได้วิเคราะห์ต้นเหตุและให้การรักษาปวดหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ดู โรงพยาบาล คลีนิกโรคจากการทำงาน เพิ่มเติม
3. การฝังเข็ม (Accupuncture)
โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักลงไปในจุดที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว โดยให้ปลายเข็มสะกิดเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อให้คลายตัวและอาการปวดจะบรรเทาลง
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
4. การนวด
หมายถึง การใช้ นิ้วมือทําการบีบนวดไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยบําบัด ลดอาการ เจ็บปวด ลดอาการบวม ซึ่งเกิดการเกร็งตัวของเอ็นกล้ามเนื้อหรือการคั่งของของเสียในเนื้อเยื่อ การคั่งของโลหิตใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยลดหรือแก้ไขอาการติดขัด ช่วยให้การ ติดขัดสามารถเคลื่อนไหวได้ ช่วยให้ผิวหนังเกิดความรับรู้ มีความรู้สึกดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อถ่ายเทของเสีย ทําให้การไหลเวียนของโลหิต น้ําเหลืองดี ขึ้น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงรูปร่าง รูปทรงที่ผิดปกติ และช่วยปรับปรุงระบบ หายใจให้คล่องตัวขึ้น
วิธีการนี้นั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเห็นผลได้ภายใน 1 ถึง 2 วันหลังนวด แต่ข้อควรระวัง คือ ต้องเลือกคนที่จะมานวดให้ดีก่อน เพราะบางครั้งคนนวดที่จับเส้นไม่เป็น ทำไม่ถูกหลักการ หรือนวดหนักเกินไปอาจทำให้ร่างกายของเราเกิดอาการเคล็ด หรือกล้ามเนื้อช้ำ เจ็บหนักกว่าเดิมก็เป็นได้
ยานวดคลายเส้น บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลดีที่สุด
5. การออกกำลังกาย
ที่ได้ผลดีที่สุดในการบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม คือ การว่ายน้ำและโยคะ การว่ายน้ำช่วยให้ได้ขยับทุกสัดส่วนของร่างกาย (โดยเฉพาะในส่วนที่ปวดอย่างไหล่และบ่า) โยคะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับในช่วงเริ่มต้นเพราะตัวแข็ง แต่พอทำๆ ไปตัวก็จะค่อยๆ อ่อนขึ้น ข้อดีของการเล่นโยคะคือคุณสามารถเล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยปกติถ้าวันไหนมีเวลา ในช่วงก่อนนอน เปิดแอปพลิเคชันชื่อว่า Daily Yoga และก็เล่นตามสัก 15-20 นาที
6. การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน
ท่าทางการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องตามอิริยาบถ เทียบกับทุกข้อที่พูดถึงมา ข้อนี้เป็นของที่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากที่สุด เพราะสาเหตุที่ปวดบ่ากับไหล่นั้นเกิดมาจากการนั่งท่าเดิมซ้ำๆ และสาเหตุของการนั่งท่าเดิมซ้ำๆ นั้น เกิดมาจากงานที่ทำการเปลี่ยนงานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานยังสามารถทำได้อยู่ สิ่งแรกที่เปลี่ยนได้ง่ายและควรเปลี่ยนคืออุปกรณ์ในการทำงานซึ่งได้แก่โต๊ะและเก้าอี้ที่ช่วยให้คุณนั่งทำงานได้ตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) ผมแนะนำว่าก่อนที่จะซื้อโต๊ะหรือเก้าอี้ Ergonomics คุณควรที่จะลองใช้ก่อนทุกครั้ง และถ้าคุณใช้แล้วรู้สึกว่ามันต้องฝืนและมันไม่สบายตัว ผมแนะนำให้คุณอย่าพึ่งซื้อและลองหาตัวที่มันเหมาะกับคุณมากกว่าแทน
นอกเหนือจากการรักษาที่กล่าวมาแล้วในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย คือ
7. การรักษาด้วยคลื่นรักษาแบบรวมพลังงาน
(Focused shockwave therapy) คลื่นกระแทกให้ผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ เนื้อเยื่อที่ต้องการรักษา โดยผลทางตรงพลังงานจาก คลื่นกระแทกนั้นจะส่งผ่านไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย โดยตรงแต่ผลทางอ้อมของคลื่นกระแทกนั้นจะหวังผล การเกิด cavitation bubbles ต่อเนื้อเยื่อ18 การที่คลื่น กระแทกสามารถช่วยลดอาการปวด และการบาดเจ็บใน บริเวณที่ทำการรักษาได้นั้นเป็นผลมาจากเกิดการสร้าง เส้นเลือดขึ้นมาใหม่ (neovascularization) และการเร่งกระบวนการซ่อมแซมโดยไปเพิ่ม growthfactors19 กลไกการเกิดคลื่นกระแทกนั้นแตกต่างจากคลื่น เสียงตรงบริเวณคลื่นทางด้านหน้าในบริเวณที่เป็นแรงดัน ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความเครียดและความหนาแน่นอย่างกะทันหันและเพราะสาเหตุนี้ทำให้คลื่นกระแทก มีวิธีการกระจายคลื่นแตกต่างไปจากคลื่นเสียงแบบเดิม การเดินทางของคลื่นกระแทกนั้นเร็วกว่าเสียงโดย ความเร็วนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มความถี่ของเครื่อง
แต่อย่างไรก็ตามความเข้มของคลื่นกระแทกจะลดลง เร็วกว่าคลื่นเสียง เป็นเพราะว่าพลังงานบางส่วนของ คลื่นกระแทกนั้นถูกกระจายเป็นเป็นพลังงานความร้อน ขณะมีการเคลื่อนที่ของคลื่นกระแทก คลื่นกระแทกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- ชนิด โฟกัส (fESWT)
- ชนิดไม่โฟกัสรวมพลังงาน
หรือที่ นิยมเรียกว่าชนิด radial (rESWT) โดยคลื่นกระแทก ชนิดโฟกัส (fESWT) คลื่นที่ออกมานั้นจะลงไปยังจุด ที่ทำการรักษาเท่านั้นในขณะที่คลื่นกระแทกชนิด radial (rESWT) นั้นคลื่นที่ออกมาจะกระจายไปยังเนื้อเยื่อ รอบๆ ที่ทำการรักษาและไม่ได้ให้ผลเสมือนยาชา
โดยพบว่าคลื่นกระแทกชนิด radial ให้ผลการรักษาที่ดี และมีประสิทธิภาพมากกว่าคลื่นกระแทกชนิดโฟกัส เพราะบริเวณที่ทำการรักษานั้นมีขนาดใหญ่คลื่น กระแทกชนิด radial แรงดันสูงสุด และความเข้มของพลังงานที่มากที่สุดจะอยู่บริเวณส่วนบนสุดของ applicator และบริเวณด้านข้างของเนื้อเยื่อแต่คลื่น กระแทกชนิดโฟกัสจุดที่ให้แรงดันสูงสุดและความเข้มของพลังงานที่มากที่สุดจะอยู่บริเวณจุดศูนย์กลางที่ถูกโฟกัสเท่านั้น คลื่นกระแทกชนิด radial มีความเข้มของพลังงานที่แน่นอนทำให้มีอาการปวดขณะทำการรักษาน้อย ผู้ป่วยสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้ มากกว่าคลื่นกระแทกชนิดโฟกัสเมื่อใช้ความเข้มของ พลังงานที่เท่ากัน ดังนั้นการใช้คลื่นกระแทกชนิด radial ในผู้ป่วยโรครองช้ำอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีบริเวณเจ็บปวด ไม่แน่นอนว่าจะให้ผลการรักษาดีกว่าการใช้คลื่นกระแทกชนิดโฟกัส
8. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อ และกระดูก ประมาณ 10 เซนติเมตร คลื่นไฟฟ้าดังกล่าวจะกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด และช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น
โดยสามารถบำบัดได้ทั้งบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง ไหล่ ขา เข่า หรือแม้กระทั่งข้อเท้า หรือแม้แต่กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกไขข้อ ล้วนแล้วแต่สามารถบำบัดได้ด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ และรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่ทำการรักษา โดยไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด เห็นผลทันทีหลังการรักษา และยังสามารถบำบัดอาการที่ปวดจากระบบเส้นประสาทและไม่ใช่เส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อ และกระดูก
ดูการใช้ ประกันสังคม รักษา ออฟฟิศซินโดรม เพิ่มเติม
เคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Be Fit)
- ระวังเรื่องของท่าทาง บุคลิกของตัวเอง อย่าไหล่ห่อ อย่านั่งค่อม
- ในเรื่องของการยกของจากพื้นควรระวัง ใช้ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
- วางแผนการเคลื่อนไหวบนโต๊ะทำงาน โดยการจัดโต๊ะทำงาน หรือพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม ควรจัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง และไม่ต้องก้มตัวขึ้นลง หันซ้ายหันขวา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเคล็ดได้
- เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5นาที เป็นการแก้ปัญหาได้แล้ว เป็นการป้องกันปัญหาได้อีกด้วย
- ระมัดระวังการใส่ส้นสูง ถ้าไม่จำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ควรใส่ไม่เกิน 2นิ้ว หรือ 4-5เซนติเมตรเท่านั้น
- การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน
- ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง ท่ายกที่ดี มุมจุดหมุนและน้ำหนักควรอยู่ใกล้กัน พยายามให้หลังตรงตลอด เพราะมิเช่นนั้นช่วงล่างจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
เทคนิคการยืดเส้นยืดสายระหว่างทำงาน
1.การบริหารกล้ามเนื้อคอ
เริ่มจากนำมือข้างซ้ายอ้อมไปจับศีรษะด้านขวา ดึงมาทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึง นับ 1-10สลับใช้มือข้างขวา นับ 1-10เช่นเดียวกัน จากนั้นประสานมือบริเวณท้ายทอย ดันไปด้านหน้าจนรู้สึกตึง นับ 1-10
2.การบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการปวดไหล่เป็นประจำ โดยยกไหล่ขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10การกดไหล่ลงไปให้สุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10
3.การบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าอก
และแก้ปัญหาไหล่ห่อ ให้ลุกขึ้นยืน จากนั้นนำมือประสานกันด้านหลัง ค่อยๆ ยกขึ้นมาจนถึงระดับที่เรารู้สึกว่าตึง นับ 1-10การยืดด้านหลัง โดยการกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ให้มือไขว้กันเยอะที่สุด โดยเอามือโอบด้านหลังของตัวเองให้มากที่สุด นับ 1-10
4.การบริหารบริเวณช่วงสะโพก
บางคนมีปัญหาปวดบริเวณสะโพก ชาลงเท้า ชาลงขา จะสามารถบริหารท่านี้ได้ดี ท่าบริหารนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ซึ่งมักจะไปกดทับเส้นประสาททำให้รู้สึกมีปัญหาได้ ทำโดยยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จะรู้สึกบริเวณต้นขาด้านซ้าย นับ 1-10จากนั้นสลับเท้าด้านขวา
5.การบริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง
ยืดมือขึ้นบนสุดประกบกัน จากนั้นเอนตัวทางด้านซ้าย นับ 1 -10 จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา นับ 1-10 ท่าบริหารดังกล่าวควรทำบ่อยๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อมัดหลักๆ ในร่างกาย สละเวลา 3-5นาที เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรง
บทส่งท้าย ออฟฟิศซินโดรม รักษา อย่างไร
การที่จะทำให้ “หาย” จากอาการปวดอย่างถาวรนั้น คือ การรักษาที่สาเหตุของปัญหา ให้สภาพของกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท คืนสู่สภาวะปกติ และดีกว่าปกติ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดอาการปวดอีก วิธีการรักษาดังกล่าวเรียกว่า Active Therapy เป็นการรักษาในเชิงป้องกันที่สาเหตุ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆที่อาจทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมจะเป็นการดีที่สุด
วิธีการ รักษา อาการออฟฟิศซินโดรม ให้ “หาย” นั้นอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เบื้องต้นต้องปรับพื้นที่ทำงานให้เหมาะสมกับสรีระของเราให้ได้เสียก่อน ปรับโต๊ะทำงาน เปลี่ยนเก้าอี้ เพื่อให้การนั่งทำงานเป็นท่าที่เหมาะสมมากขึ้น อย่านั่งทำงานต่อเนื่องนานเกิน 60 นาที ลุกไปทำกิจกรรมอื่นบ้าง ยืดเส้นบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย สำหรับคนที่มีอาการหนักมาก อาจต้องทำการรักษาด้วยการฝังเข็ม กายภาพบำบัด ไปจนถึงพักการทำงานไปเลยยาวๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย
Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง