แนะนำการ ฝังเข็ม รักษาออฟฟิศซินโดรม หายจริง อาการดีขึ้น

ฝังเข็ม รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษามาหลายวิธีก็ไม่หาย มาลอง ฝังเข็ม รักษาออฟฟิศซินโดรม กันไหม รักษาตามแบบฉบับของแพทย์แผนจีนดูบ้าง โดยไม่ต้องใช้การทานยาหรือฉีดยาให้มีสารตกค้างในร่างกาย การฝังเข็มนั้นสามารถรักษาได้หลากหลายโรค โดยเฉพาะโรคออฟฟิศซินโดรมก็ช่วยได้เช่นกัน โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการเบื้องต้นจากการถามอาการ และจับชีพจร จากนั้นจึงทำการฝังเข็มลงบนจุดและเส้นต่างๆ บนร่างกายที่มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งวิธีการนี้ช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลม ทำให้กล้ามเนื้อที่ปวดเกิดการคลายตัวและลดการอักเสบ ใครยังไม่เคยลอง ต้องลองสักครั้ง

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง

ฝังเข็ม รักษา ออฟฟิศซินโดรม

กลุ่มอาการเจ็บปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรมนั้น เป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญ และปัญหาในการทำงานของคนสมัยนี้ไม่ใช่น้อย คนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั่งก้มๆ เงยๆ ติดต่อกันวันละหลายๆ ชั่วโมงโดยไม่รู้ตัว หลายคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักวิธีการดูแลตนเอง หรือไม่รู้จักสาเหตุของโรคที่แท้จริง คนไข้ที่มาหาหมอที่แผนกทุยหนาส่วนใหญ่ก็มาด้วยอาการสะสมจากการทำพฤติกรรมซ้ำๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังแบบ “ออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งไม่เป็นผลดี ปล่อยเอาไว้นาน ไม่รักษาและไม่ปรับพฤติกรรมก็อาจจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ

“ฝังเข็ม” เป็นหนึ่งในแนวทางรักษาโรคของแพทย์แผนจีน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมและปรับสมดุลของร่างกาย เพราะแพทย์แผนจีนเชื่อว่าหากเลือดลมไหลเวียนดี อวัยวะต่างๆก็ทำงานได้ไม่ติดขัด

อาการของออฟิศซินโดรม ที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่และส่วนต่างๆ ปวดเรื้อรังจากการหดเกร็งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ทำให้เลือดลมที่กล้ามเนื้อไหลเวียนไม่สะดวก โดยแพทย์จีนจะใช้เข็มเล่มเล็กๆเป็นตัวช่วยสำคัญที่ใช้ในการรักษาและบรรเทาอาการได้

วิธีการรักษาด้วยการฝังเข็ม

ฝังเข็ม รักษาออฟฟิศซินโดรม

แพทย์จีนตรวจชีพจร ดูลิ้นและซักประวัติผู้ป่วยคนหนึ่งที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณ คอ บ่า ไหล่และนิ้วล็อค จากท่านั่งใช้คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มจึงเริ่มขึ้น โดยเข็มขนาดเล็กถูกฝังลงผิวหนังตามจุดเส้นลมปราณ ที่ผู้ป่วยมีอาการปวด เริ่มตั้งแต่ต้นคอ ไหล่และหลังมือ การฝังเข็ม จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวดี ซึ่งนายปิยชาติ อัศววิโรจน์ แพทย์ด้านการฝังเข็มและยาจีน อธิบายว่า เข็มเล็กๆ ที่แทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด เพราะมีเลือดคั่งให้ไหลเวียนดีขึ้นได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือได้รับความเสี่ยงจากสารเคมีในการรักษา

“การฝังเข็มเป็นหัตถการอย่างนึงที่ไม่ใช้สารเคมี ทำให้กล้ามเนื้อที่ปวดเกิดการคลายตัวและลดการอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาเมื่อเทียบกับผลข้างเคียงที่อาจมีอาการช้ำหรือปวดตึง 2-3 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม ถือว่าได้ผลคุ้มค่า เมื่อคนไข้ปวดน้อยลงและไม่ต้องทานยา ก็จะช่วยรักษาอวัยวะภายในที่จะได้รับความเสี่ยงจากการใช้ยาด้วย” แพทย์ด้านการฝังเข็มฯ กล่าว

นอกจากนี้แล้วการฝังเข็มไม่ได้จำกัดเฉพาะรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อจากออฟฟิศซินโดรมเท่านั้น แต่ยังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการดูแลสุขภาพและบำบัดโรคต่างๆ อย่างโรคไขข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ แม้ว่าการฝังเข็มจะไม่สามารถทำให้ข้อเข่าที่เสื่อมสึกหรอในผู้สูงอายุกลับคืนเป็นปกติเหมือนเดิม แต่ก็สามารถอาศัยฤทธิ์การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ คลายการหดเกร็งและทำให้กล้ามเนื้อของผู้สูงอายุแข็งแรงขึ้นได้

แพทย์จีน ยังระบุอีกว่า ประสิทธิภาพและความถี่ในการบำบัดและรักษากล้ามเนื้อด้วยวิธีฝังเข็มขึ้นอยู่กับอาการและความเห็นของแพทย์ อย่างกรณีของผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมเฉียบพลัน ไม่ได้ปวดเรื้อรัง การฝังเข็มอาจเห็นผลในครั้งแรกๆที่รักษา แต่ถ้าผู้ป่วยกลับไปนั่งท่าเดิมและใช้กล้ามเนื้อหนัก อาการปวดอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

นอกจากโรคที่เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อแล้ว ปัจจุบันศาสตร์การรักษาด้วยการฝังเข็มได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก ว่าสามารถรักษาโรคต่างๆได้ ทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมทั้งอาการปวดประจำเดือน โดยรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็มีข้อควรระวังในกลุ่มคนที่มีสถาพร่างกายอ่อนแอมากๆ อย่างหญิงตั้วครรภ์ คนที่มีความดันโลหิตสูง กินยาสลายลิ่มเลือด หรือผิวหนังอักเสบติดเชื้อ แพทย์แนะนำว่าคนกลุ่มนี้ไม่ควรรักษาด้วยการฝังเข็มเพราะอาจเกิดอันตรายได้

ฝังเข็ม ที่ไหนดี

คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะฝังเข็ม

  1. ก่อนฝังเข็ม ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารก่อน 1-2 ชั่วโมง
  2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  3. หลังฝังเข็ม เมื่อแพทย์ถอนเข็มออกอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ให้ใช้สำลีกดไว้สักครู่เลือดจะหยุดไหลไปเอง
  4. หลังเสร็จการรักษา คนไข้สามารถอาบน้ำ เล่นกีฬา หรือรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  5. การฝังเข็มสามารถรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันได้ ดังนั้นคนไข้จึงสามารถทานยา หรือรักษาตามแนวทางแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่ไปด้วยได้
  6. ผู้ไม่ควรฝังเข็ม ได้แก่ สตรีมีควรรภ์, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดไหลแล้วหยุดไหลยาก, รวมถึงผู้รับประทานยาสลายลิ่มเลือด ที่ทำให้เลือดแข็งตัวยาก

การฝังเข็มเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาตามแนวทางแพทย์แผนจีน โดยการใช้เข็มปักเข้าไปยังตําแหน่งต่างๆ ของร่างกาย ในตําแหน่งที่เป็นจุดเฉพาะ เพื่อการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และป้องกันโรค

การรักษาด้วยการฝังเข็ม ทําโดยการใช้เข็มที่ทําด้วยสแตนเลสผ่านการฆ่าเชื้อและใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง ปักเข็มทะลุผิวหนัง ตรงจุดฝังเข็ม ตามแนวเส้นลมปราณที่ตรงกับอาการของโรคและอาจกระตุ้นด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า

การรักษาด้วยการฝังเข็มทําโดยแพทย์จีน

ผลที่ได้จากการรักษาด้วยการฝังเข็ม

  • กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารต่างๆ ในระบบประสาท ฮอร์โมน และกลไกของร่างกายทั้งหมด ทําให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงการทํางานของระบบประสาท และสมอง
  • กระตุ้นให้มีการปรับตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมเส้นเลือดและการทํางานของอวัยวะภายในร่างกาย จึงเป็นผลช่วยรักษาภาวะที่อวัยวะต่างๆ ขาดเลือดหล่อเลี้ยง และปรับสมดุลของร่างกาย

แต่อย่างไรก็ตามการฝังเข็ม อาจทําให้เกิดผลข้างเคียง และ ภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

  • ภาวะเมาเข็ม หรือเป็นลม

อันเป็นผลจากการตื่นเต้น กลัวเข็มร่างกายอ่อนเพลีย ท้องว่าง หรืออิ่มมากเกินไป ควรพักผ่อน ให้เพียงพอ และรับประทานอาหารก่อนการฝังเข็ม 1-2 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานอาหารจนอิมมากเกินไป ซึ่งในขณะฝังเข็มจะมีพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด

  • เข็มคาติดเนื้อ เข็มงอ เข็มหัก อันเป็นผลจากการขยับ

กล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มขณะคาเข็ม ซึ่งทางโรงพยาบาล ได้ให้การป้องกันโดยจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สบายเพื่อลดการ ขยับและให้คําแนะนําไม่ให้ขยับตัวขณะฝังเข็ม

  • ปวดบริเวณรักษา อันเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว

ซึ่งอาการปวดจะทุเลาลงประมาณ 2- 3 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม

  • ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก คือการเกิดเลือดออกเล็กน้อย

ใต้ผิวหนัง ซึ่งจะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ไม่จําเป็นต้องรักษา

ฝังเข็ม รักษาออฟฟิศซินโดรมการรักษาแบบอื่นตามแนวทางแพทย์แผนจีน

  1. ครอบแก้ว
  2. กวาชา
  3. รมยา
  4. การใช้ยาสมุนไพรจีน
  5. การรักษาโรคตามแนวทางแพทย์แผนปัจจุบัน

หากผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่องร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคําแนะนําของแพทย์ จะทําให้ผลการรักษา มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ข้อควรปฏิบัติหลังฝังเข็ม

  1. ในระยะแรกหลังการฝังเข็มอาจมีอาการอ่อนเพลีย ควรพักผ่อน อย่างเต็มที่ 1-2 วัน เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุล
  2. หากมีไข้ตำ่ๆ หลังการฝังเข็ม ให้รับประทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยไม่มีอันตรายใดๆ
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ําเย็น ควรดื่มน้ําอุ่นเป็นเวลา 1 วัน
  4. งดการอาบน้ําหรือตากแอร์เย็น เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากฝังเข็ม
  5. แพทย์จะนัดมาฝังเข็ม อีกภายใน 2 วัน หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติ ให้มาพบแพทย์ก่อนเวลานัดหมาย
  6. อาการผิดปกติที่ควรโทรสอบถามหรือมาพบแพทย์ เช่น มีเลือดออกมากผิดปกติ บวม แดง ร้อน มากผิดปกติ ปวดรุนแรงบริเวณจุดฝังเข็ม หรือมีไข้สูง

ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของการไม่ได้ฝังเข็มคือ มีปัญหาโรคที่เป็นอยู่เรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพอื่นตามมา

โรงพยาบาลให้บริการฝังเข็ม

  1. โรงพยาบาลหัวเฉียว แพทย์แผนจีน
  2. โรงพยาบาลยันฮี
  3. ศูนย์การแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
  4. PA คลินิก

ดูรายชื่อโรงพยาบาลและคลินิกรักษาออฟฟิศซินโดรมเพิ่มเติม

รีวิวการฝังเข็ม รักษาออฟฟิศซินโดรม

จากประสบการณ์ตรงที่ไปเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มมา 6 ครั้ง ก็ได้พบว่า การฝังเข็มนั้นช่วยให้อาการเจ็บเส้น ปวดไหล่ หลัง สะบัก อันเป็นเหตุมาจากการนั่งทำงานนานๆ นั้น มีอาการดีขึ้น ช่วยผ่อนคลายและทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยตอนที่รักษานั้นคุณหมอจะทำการฝังเข็มลงไปตรงจุดที่เรามีอาการเจ็บ เราจะรู้สึกหน่วงๆ บริเวณนั้น เมื่อคุณหมอปักเข็มจนครบ ก็จะมีการกระตุ้นไฟฟ้าแบบเบาๆ เพื่อให้เลือดลมเดินดีขึ้น โดยจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที สิ่งที่เราต้องทำคือการนอนเฉยๆ เมื่อฝังเข็มเสร็จจะมีการทำกัวชา หรือการครอบแก้วตรงบริเวณรอบจุดที่มีอาการปวด เช่น ต้นคอ สะบัก ไหล่ หลัง เอว เพื่อช่วยการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมอีกรอบหนึ่ง ถ้าจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นควรรักษาด้วยการฝังเข็มอย่างต่อเนื่อง 4-5 ครั้ง หรือมากกว่านั้นตามความหนักหนาสาหัสของอาการ

คำเตือน

  1. วิธีรักษานี้ไม่เหมาะสำหรับคนกลัวเข็มเป็นอย่างยิ่ง
  2. เจ็บมาก ตอนโดนเข็มปักลงไปจะมีการสะดุ้งเล็กน้อย
  3. ถ้ากลัวเจ็บแนะนำให้ใช้วิธีกัวชา หรือครอบแก้วเพื่อบรรเทาอาการก็ได้เช่นกัน

บทส่งท้าย

หากเพื่อนๆ ได้ลองรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมมาหลายวิธี แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น การรักษาด้วยการฝังเข็มก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการได้ดีเช่นกัน วิธีนี้ใช้เพื่อการรักษาให้เลือดลมไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจุดที่ปวดเมื่อย เมื่อทำการฝังเข็มแล้วควรอย่างยื่งที่จะต้องพักร่างกาย 1-2 วัน ห้ามไปทำงานต่อเป็นอันขาด เพื่อกล้ามเนื้อจุดที่มีอาการปวดได้คลายตัว ถ้าไม่พักแล้วกลับไปทำงานเหมือนเดิม อาการปวดก็จะไม่หายไป เพราะเหมือนเราไปใช้งานซ้ำเติมในบริเวณที่เจ็บ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการเจ็บมากขึ้นได้ และกลายเป็นว่าเสียเงินรักษาฟรีเพราะไม่ได้ช่วยอะไรเลย

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง