ประกันโควิด พิจารณาอะไรให้ลงตัวกับเรา

ประกัน COVID-19

มาเติมข้อมูลความรู้เรื่องประกันภัยกันหน่อย ในช่วงที่วัคซีนกำลังถูกทยอยฉีด ข่าววัคซีนไม่มาตามนัด ต้องถูกเลื่อน หรือเบรคลงทะเบียนหมอพร้อม สดๆร้อน วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 หลังจากเปิดให้บริการแอพไปได้ 26 วัน แล้วอะไรบ้างที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับเรา ในช่วงนี้ Q2ของปี64 ที่ดุเดือดไปด้วยยอดนิวไฮค์และการจัดการวัคซีนจากรัฐบาลที่ยังคงมีเพียง 2 ยี่ห้อ ที่คนไทยได้รับการอนุมัติให้ฉีด( Sinovac, AstraZeneca ) การมองหาประกันก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เราลดความเสี่ยงระหว่างทางที่เราจะตัดสินใจรอวัคซีน หรือ จะไม่เลือกรับวัคซีนจนกว่าจะมั่นใจตัวที่จะฉีด

ดูแลสุขภาพชีวิตในทุกมิติกับ Summerteas

เทรนประกันปีนี้ มีทิศทางแตกต่างจากปีที่แล้ว อย่างไรบ้าง

    • ชะลอ และเปลี่ยนเงื่อนไข ขายประกันประเภท” เจอ จ่าย จบ” ลดปรับเบี้ยเจอจ่ายจบ ไม่ใช่หลักแสนบาทแล้ว แต่เหลือเพียงหลักหมื่นบาท
    • บริษัทปรับกลยุทธ์ ออกโปรดักต์ใหม่เน้นค่ารักษา-ชดเชยรายวัน-แพ้วัคซีน
    • ถ้าติดแล้วต้องรักษาที่Hospitel ประกันก็รองรับแล้ว

ตลอดปี 63 มีคนในประเทศไทยติดเชื้อน้อย ยอดเคลมค่าสินไหมรวมกัน 100 กว่าล้านบาท ส่งให้บริษัทประกันภัยมีกำไรเป็นจำนวนมาก พอถึงต้นปี 64 ที่ออกจำหน่ายใหม่ บริษัทประกันปรับลดค่าเบี้ยลง 20% จากปีก่อน คนซื้อประกันส่วนใหญ่จะเป็นหน้าเดิมๆที่คุ้มครองครบอายุ 1 ปี ก็ซื้อแบบประกันใหม่ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน มี.ค.64 มียอดขายรวมกัน 1.3 ล้านกรมธรรม์

แต่พอเริ่มเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เกิดกระแสโควิด-19 ระลอก 3 คนติดเชื้อเพิ่มขึ้นทะลุ 2,000 คนต่อวัน มีคนตายเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งมีกระแส “น้าค่อม ชวนชื่น” บวกกับหลังเทศกาลสงกรานต์คนกลับจากต่างจังหวัดมาทำงาน ตัวเลขคนติดเชื้อ-คนตาย สูงหลัก 1,000–2,000 คนปลายๆ

กลายเป็นจุดเริ่มต้นของบรรดา “คนกลัวตาย” รีบหาซื้อประกันโควิด-19 ดันยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 100,000 กรมธรรม์ต่อวัน เรียกได้ว่า เม.ย.เดือนเดียว ยอดขายรวมกัน 3 ล้านกรมธรรม์ ดันยอดขายประกันโควิด-19 สะสมทะลุ 14 ล้านกรมธรรม์

เมื่อคนแห่ซื้อประกันโควิด-19 มากขึ้น บริษัทประกันภัยก็ต้องมานั่งทบทวนหน้าตัก เงินกองทุนที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ หากขายประกันออกไปมากๆ และมียอดเคลมเข้ามามาก ก็จะมีผลกระทบต่อสถานะการเงินได้ เป็นเหตุให้บริษัทประกันหลายแห่งชะลอขายประกันโควิด-19 ประเภท “เจอ จ่าย จบ” โดยเฉพาะค่าเบี้ยประกัน 499 หรือ 599 บาท เจอโควิดรับไปเลย 100,000 บาท เจ็บป่วยโคม่า รับ 1 ล้านบาท ที่พอมีขายในตลาด จะเหลือแค่เน้นคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล การแพ้วัคซีน โดย “เจอ จ่าย จบ” ที่ยังพอมีในตลาดนั้น เบี้ยประกันจะสูงขึ้นและลดความคุ้มครองกรณีตรวจเจอโควิด-19 เหลือ 30,000-50,000 บาท

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก ไม่รู้ว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้น ทุกอย่างอยู่บนความเสี่ยง บริษัทประกันภัยก็ต้องดูหน้าตักดีๆ ดูแลเงินกองทุนให้ดี”

นิวไฮท์ทำคนซื้อประกันโควิดเฉลี่ยกว่าวันละแสนฉบับ

นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันพบว่ายอดขายประกันโควิดเข้ามาเฉลี่ยวันละกว่า 1 แสนกรมธรรม์ โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของเดือน เม.ย. 64 ยอดขายทะลักเข้ามาค่อนข้างมาก ตั้งแต่ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศทำสถิติทะลุหลัก 2 พันรายต่อวัน ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ในระดับกว่า 6 หมื่นรายแล้ว

ประเมินว่ายอดขายประกันโควิดเฉพาะเดือน เม.ย.น่าจะมากกว่า 3 ล้านกรมธรรม์ ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบปี 2563 ที่มียอดขายประกันโควิดทั้งสิ้น 9 ล้านกรมธรรม์ ขณะที่ในช่วงไตรมาส 1/64 มียอดขายรวม 1.3 ล้านกรมธรรม์

กว่า 20% ของคนติดเชื้อมีประกัน บริษัทต่างปรับกลยุทธ์

ทั้งนี้จากความเสี่ยงยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมที่สูงขึ้นทุกวัน เริ่มเห็นสัญญาณผลกระทบต่อแผนประกันโควิดแบบ “เจอจ่ายจบ” ซึ่งขณะนี้หลายบริษัทประกันที่ขายอยู่เริ่มประกาศยกเลิกขายรวมถึงการปรับเงื่อนไขความคุ้มครองใหม่ เนื่องจากประเมินแล้วจะส่งผลต่อความสามารถในการแบกรับความเสี่ยง ซึ่งจะกระทบต่อเงินสำรองของบริษัทตามมาได้

“ สถิติปีก่อนคนติดเชื้อโควิดทำประกันแค่ 10% เท่านั้น แต่ต้นปี’64 สถิติสูงขึ้นเป็น 15% และช่วงพีกในเดือน เม.ย. น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ซึ่งปัจจุบันคนซื้อประกันโควิดเริ่มครบระยะเวลารอคอย 14 วัน (waiting period) ฉะนั้นช่วงนี้คนติดเชื้อมีโอกาสเข้ามาแจ้งเคลมประกันสูงขึ้นได้อีก ” นายอานนท์กล่าว

ประกันโควิด เบี้ยประกัน

ไต่ระดับขึ้นค่าเบี้ยประกันโควิด

นายอานนท์กล่าวว่า หากยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมปรับตัวขึ้นไปถึงหลักแสนราย ประเมินว่าภาคธุรกิจอาจต้องเริ่มมาทบทวนขอปรับขึ้นค่าเบี้ยประกันโควิดกับทาง คปภ. ซึ่งหากยอดผู้ติดเชื้อยังอยู่ในระดับ 2 พันรายต่อวัน คาดว่าประมาณปลายเดือน พ.ค.ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจะทะลุแสนราย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เห็นภาครัฐออกมาตรการคุมเข้มมากขึ้น ก็คาดหวังว่ายอดผู้ติดเชื้อน่าจะลดลงได้บ้าง

ทุบสถิติรวมกรมธรรม์ทะลุ 13.8 ล้านฉบับ

นายอาภากร ปานเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า จากข้อมูลอัพเดตล่าสุด ณ วันที่ 22 เม.ย. 64 พบว่ายอดขายประกันโควิดในระบบมีจำนวนทั้งสิ้น 13.8 ล้านกรมธรรม์ คิดเป็นเบี้ยประกันรับรวม 5,925 ล้านบาท โดยยอดเคลมประกันรวม 195 ล้านบาท แต่เฉพาะเดือน เม.ย. 64 ซึ่งมีการระบาดระลอก 3 อย่างรุนแรง ทำให้มียอดขายประกันโควิดสูงถึง 3.15 ล้านฉบับ โดยยอดเคลมประกันอยู่ที่ 24.6 ล้านบาท

ทั้งนี้ปัจจุบันมีบริษัทประกันภัยยื่นขอแบบประกันโควิดทั้งสิ้น 35 บริษัท แต่มีการเปิดขายจริงเพียง 23 บริษัท แยกเป็นบริษัทประกันวินาศภัย 16 บริษัท และบริษัทประกันชีวิต 7 บริษัท

ขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นสัญญาณหลายบริษัทประกันทยอยเลิกขายแผนประกันโควิดแบบเจอจ่าย ซึ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตจาก คปภ. เช่นเดียวกับการปรับเงื่อนไขความคุ้มครอง ลดวงเงิน “เจอจ่ายจบ” และเพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและโคม่าแทน รวมถึงการขึ้นค่าเบี้ยประกัน โดยที่เป็นการปรับขึ้นเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงราคาที่ได้รับความเห็นชอบจาก คปภ.

คปภ.ชี้เคลมต่ำไม่ใช่เวลาขึ้นเบี้ย

นายอาภากรกล่าวต่อว่า ปัจจุบัน คปภ.ยังไม่ได้รับสัญญาณที่ภาคธุรกิจจะมาขอปรับขึ้นเบี้ยประกันโควิดรอบใหม่ เพราะถ้าประเมินเบี้ยประกันโควิดที่เข้ามาเกือบ 6 พันล้านบาท ภาคธุรกิจจ่ายเคลมประกันยังไม่ถึง 200 ล้านบาท ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก ขณะที่สถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อรายวันก็เริ่มปรับตัวลดลงบ้างแล้ว

นอกจากนี้เมื่อช่วงต้นปี’64 คปภ.ออกคำสั่งนายทะเบียนให้บริษัทประกันพิจารณาส่วนลดเบี้ยประกันโควิด 20% ให้แก่ลูกค้าด้วยซ้ำ เพราะสะท้อนความเสี่ยงจากยอดเคลมที่ต่ำ ทำให้ปัจจุบันราคากรมธรรม์ที่ขายอยู่ในตลาดเป็นระดับที่ยังต่ำกว่าเพดานที่ คปภ.กำหนด

บางบริษัทยกเลิกเจอจ่ายจบ

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เครือไทยโฮลดิ้งส์ (TGH) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 64 บริษัทอาคเนย์ประกันภัยได้เลิกขายประกันโควิดเจอจ่ายจบแผน 3 เบี้ยประกัน 778 บาท วงเงินความคุ้มครอง 1.5 แสนบาท และแผน 4 เบี้ยประกัน 1,037 บาท ความคุ้มครอง 2 แสนบาท พร้อมเตรียมจะออกแผนประกันโควิดใหม่ ซึ่งความคุ้มครอง “เจอจ่ายจบ” ยังมีอยู่ แต่ลดวงเงินความคุ้มครองเหลือ 5 หมื่นบาท จากเดิมที่เป็นหลักแสนขึ้นไป และมาเพิ่มผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล และอาการแพ้วัคซีนตามความต้องการลูกค้า ซึ่งก็จะมีการปรับราคาเบี้ยประกันใหม่ด้วย ปัจจุบันพอร์ตลูกค้าประกันโควิด (เจอจ่ายจบ) ของบริษัทอยู่ประมาณ 5 แสนกรมธรรม์

และอีกเจ้าตลาดใหญ่ อย่างบริษัทวิริยะประกันภัย ระบุว่า บริษัทจะหยุดขายประกันโควิด-19 ซูเปอร์ชีลด์ แผน 2 เบี้ยประกัน 599 บาท วงเงินคุ้มครอง 1 แสนบาท ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64 เนื่องจากมีลูกค้าสนใจซื้อเป็นจำนวนมาก จนเต็มความสามารถในการรับประกันต่อการจ่ายเคลมที่จะเกิดขึ้น

แหล่งข่าวจากบริษัทวิริยะประกันภัยกล่าวว่า ช่วงต้นเดือน พ.ค. บริษัทเตรียมออกแผนประกันโควิดใหม่ โดยยังคงมีความคุ้มครองเจอจ่ายจบ แต่ลดวงเงินเหลือหลักหมื่นเน้นเพิ่มค่ารักษาพยาบาล รวมถึงมีค่าชดเชยรายวัน ภาวะโคม่าและอาการแพ้วัคซีน เนื่องจากลูกค้าที่มีกำลังซื้ออยากขอเปลี่ยนเป็นแผนความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพราะกังวลสถานการณ์โควิด ทางโรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับต้องไปรักษาตัวในฮอสพิเทล ดังนั้นประชาชนจึงให้ความสนใจกับการซื้อประกันโควิดที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น

เช่นเดียวกับบริษัทกรุงเทพประกันภัย แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 64 เวลา 24.00 น.เป็นต้นไป บริษัทยุติการรับประกันภัยโควิด คอมพลีท แผน 1 เบี้ยประกันภัย 159 บาท, แผน 3 เบี้ยประกันภัย 459 บาท และแผน 4 เบี้ยประกันภัย 859 บาท ด้วยเหตุผลเพราะลูกค้าให้ความสนใจทำประกันภัยเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินจำนวนที่บริษัทกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับแผนการรับประกันภัย อย่างไรก็ตาม บริษัทยังจำหน่ายในส่วนแผน 2 เบี้ยประกันภัย 259 บาท

นอกจากนี้บริษัทสินมั่นคงประกันภัย ก็ออกประกาศระงับการขายประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบทั้งหมด 4 แผนคือ 1.แผนความคุ้มครอง 20,000 บาท เบี้ยประกัน 99 บาท 2.แผนความคุ้มครอง 50,000 บาท เบี้ยประกัน 199 บาท 3.แผนความคุ้มครอง 100,000 บาท เบี้ยประกัน 399 บาท และ 4.ประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบรวมการแพ้วัคซีน ซึ่งได้หยุดขายไปตั้งแต่ 22 เม.ย. 64

เทรนเจอจ่ายจบ ต้องปรับเปลี่ยนเพราะนิวโฮท์โควิดระลอกใหม่อาจจะทำให้ หลายบริษัทล้มละลายได้ และเกิดเป็นประกันรูปแบบใหม่ที่เพิ่มเติมด้านรองรับการแพ้วัคซีน และการปรับเบี้ยความคุ้มครองที่ต่ำลง แต่ยังคงหาซื้อประกันได้ง่ายด้วยระบบเว็บแอพพลิเคชั่นหรือจ่ายผ่านช้อปปิ้งออนไลน์ก็ง่ายด้วยแอพในมือถือ

 

เช็คสิทธิพื้นฐานการตรวจโควิดตามสวัสดิการของรัฐกันก่อน

ยอดสะสมผู้ได้รับวัคซีน ครบ 2 เข็ม ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ยังไปไม่ถึง ล้านคน แม้จะใกล้เคียงอยู่ที่ 980,190 ในช่วงกลางปี ความเสี่ยงโควิดเมื่อเทียบเปอร์เซ็นต์จำนวนประชากรแล้วยังไปไม่ถึง 30% ของประชากรทั้งหมด ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ก็ยังไม่นิ่ง เฉลี่ยเข้าหลักพันคนต่อวัน ส่งสัญญาณว่าต้องยกระดับการดูแลตัวเอง และความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นเพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของ “ไวรัสโคโรน่า” ถ้ากังวลใจมากให้มอง 2 เรื่องหลักๆ เรื่องการเข้ารับการตรวจและการรับการรักษาในกรณีที่คุณติดเชื้อโควิด โดยตัดเรื่องการกักตัวรักษาภายในบ้านออกไป เพราะวิธีนี้รัฐให้เหตุผลเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่ได้ จึงต้องเข้ารับการรักษาเท่านั้น โดยมี 3 ช่องทางคือ รพ.ของรัฐหรือเอกชน และ รพ.สนาม และ Hospitel

    • การรับการตรวจหาเชื้อโควิด
    • การรับการรักษาเชื้อโควิด และค่าใช้จ่ายในการรักษา
    • ค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บป่วยหลังการฉีดวัคซีนโควิด
    • รีวิวโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาล Hospitel

2.1 การรับการตรวจหาเชื้อโควิด

    • กรณีมีประกันสังคมมาตรตรา 33-39-40 แล้วเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง มีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อสามารถตรวจโควิดฟรี
    • กรณีไม่มีประกันสังคม มาตรตรา 33-39-40 แล้วเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง มีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อก็สามารถตรวจโควิดฟรี โดยสามารถ ตรวจสอบสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับบริการตรวจได้เช่นเดียวกัน
    • กรณีหากไม่มั่นใจอาการไม่ชัดเจน แล้วอยากตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยที่แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยให้ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง

ถ้ารู้ตัวว่าเสี่ยงสูง อยู่ใกล้ชิดลงทะเบียนผ่านเว็บไซด์และทำตามขั้นตอน ในกรณีที่**ต้องตกอยู่ในสภาวะ “ความเสี่ยงสูง” เนื่องจากมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับ “ผู้ป่วยโควิด” ถือเป็นกลุ่มที่สามารถเข้ารับการ “ตรวจโควิดได้ฟรี” ในสถานพยาบาลที่มีสิทธิการรักษา โดยสามารถเช็คสิทธิการรักษาพยาบาลของตัวเองได้ที่เว็บไซต์ของ “สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “สปสช.” โดยสามารถทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ของ “สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “สปสช.” หรือ www.nhso.go.th

2. เลือกเมนู “ตรวจสอบสิทธิ” ระบบบริการตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพด้วยตนเอง ตามภาพด้านล่าง

3. กรอกข้อมูล เลขบัตรประจำตัวประชาชน และวันเดือนปีเกิด พร้อมระบุตัวอักษรด้านล่างเพื่อยืนยันตัวตน และกดตกลง จากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลโรงพยาบาลที่เรามีสิทธิเข้ารับการตรวจในหน้าถัดไป

ประกันโควิด สปสช

2.2 การรับการรักษาเชื้อโควิด และค่าใช้จ่ายในการรักษา

ถ้ากลุ่มเสี่ยงเข้ารับการคัดกรองแล้วพบว่า ติดเชื้อโควิด-19 และมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน สปสช.ได้ทำข้อตกลงกับภาคเอกชนแล้วจะไม่มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย แต่กรณีผู้ป่วยบางรายมีประกันสุขภาพเอกชนอาจจะต้องใช้ส่วนนั้นไปก่อน ส่วนการจ่ายชดเชยให้โรงพยาบาลเอกชนนั้น จะเป็นไปตามระบบ UCEP หรือรักษาฉุกเฉินเร่งด่วน ยืนยันจะจ่ายชดเชยให้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่หากเตียงเต็มจะต้องมีการพิจารณาจากระดับความเจ็บป่วย เพื่อพิจารณาให้รับบริการในโรงพยาบาลที่เหมาะสม นโยบายการส่งต่อผู้ป่วย โควิด 19 ในกรุงเทพฯ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มสีเขียว

    1. จากการตรวจคัดกรองเชิงรุก Active Case Finding และจากระบบบริการ
    2. ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว
    3. ส่วนใหญ่ส่งต่อเข้าโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel

กลุ่มสีเหลือง (ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)

    • ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว
    • มีความเสี่ยง/มีโรคร่วมที่สำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    1. อายุมากกว่า 60 ปี
    2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)
    3. โรคไตเรื้อรัง
    4. โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)
    5. โรคหลอดเลือดสมอง
    6. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
    7. ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรับ
    8. ตับแข็ง
    9. ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)

กลุ่มสีแดง (ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)

    • หอบเหนื่อย หายใจลำบาก X-ray พบปอดอักเสบรุนแรง
    • มีภาวะปอดปวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise – induced Hyoixemia)      การคัดแยกผู้ป่วยขณะนี้มีผู้ป่วยกว่า 600 คน อยู่ในการดูแลแล้ว หากผู้ป่วยเพิ่มเป็น 1,000 คน ก็จะต้องจัดระบบเพื่อจัดหาเตียงให้ต่อไป

 

ค่าใช้จ่ายในการรับการรักษา

พญ.กฤติยา กล่าวต่อว่า กรณีผู้ป่วยนอก (OP) จะจ่ายค่าห้องปฏิบัติการ (Lab) ค่าเก็บตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มียารักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 หรือค่ารถส่งต่อระหว่างหน่วยบริการ บ้าน ค่าด่านตรวจคัดกรอง State Quarantine สำหรับกรณีผู้ป่วยใน (IP) จะมีการจ่ายชดเชย ค่า Lab ค่ายารักษา และที่สำคัญคือ ค่าชุด PPE หรืออุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อ จะมีการจ่ายชดเชยตามจริงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้เข้าไปสัมผัสผู้ติดเชื้อ

ขณะที่ค่าห้องนั้น ถ้าจำเป็นต้องรักษาในห้องความดันลบ (Negative Pressure) สปสช. จะจ่ายชดเชยให้ 2,500 บาทต่อวัน ส่วนค่าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เช่น โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel หากโรงพยาบาลเห็นว่า มีความจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยไปรักษาตัวยังสถานที่นั้นๆ จะมีการจ่ายชดเชยให้ไม่เกิน 1,500 บาทต่อคนต่อวัน รวมไปถึงค่ารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังจุดต่างๆ ด้วย

พญ.กฤติยา กล่าวอีกว่า เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน และเป็นภาระต่อประชาชนในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง อยากจะให้ความมั่นใจว่า ถ้าทำตามคำแนะนำของแพทย์ หรือหน่วยบริการนั้นๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม ในกรณีที่มีปัญหาผู้ใช้สิทธิบัตรทอง รวมไปถึงผู้เข้าเกณฑ์ทุกอย่างแล้วยังถูกเรียกเก็บค่าบริการ ให้สอบถาม-แจ้งเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1330

ด้าน พญ.ปฐมพร ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตามขั้นตอนแล้วการหาเตียงจะเริ่มจากโรงพยาบาลที่เข้าตรวจ ถ้าเตียงเต็มก็จะเป็นเตียงของโรงพยาบาลเครือข่ายของโรงพยาบาลนั้นๆ ในกรณีที่เตียงโรงพยาบาลเครือข่ายเต็มอีก จะมีการหาเตียงข้ามเครือข่าย ซึ่งมีศูนย์เอราวัณทำหน้าที่เป็นศูนย์บริหารจัดการเตียง ส่วนจะได้นอนที่โรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม จะมีการตรวจคัดกรองและเอกซเรย์ปอดก่อนเสมอ ถ้าผลการเอกซเรย์ออกมาว่า มีข้อสงสัยภาวะปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษาตัวโรงพยาบาล ส่วนกรณีไม่มีข้อสงสัย อาการน้อย สุขภาพดี อายุน้อยกว่า 50 ปี และไม่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยถึงจะสามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่งจะมีแพทย์และพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

พญ.ปฐมพร กล่าวต่อว่า สำหรับคลินิกเอกชนที่ตรวจคัดกรองจะต้องมีโรงพยาบาลจับคู่กัน เพื่อให้แน่ใจได้ว่า หาเตียงได้ การเข้าตรวจต้องเข้าตรวจอย่างถูกวิธีและจะต้องช่วยดูแลให้สามารถหาเตียงได้ ทั้งนี้ อยากเชิญชวนประชาชนสามารถลงทะเบียนหาเตียงผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) โดยเพิ่มเพื่อน @sabaideebot (สบายดีบอต) ซึ่งจะเป็นโปรแกรมอัตโนมัติในการจัดระบบข้อมูล บันทึกประวัติสุขภาพ ให้คำแนะนำ ตลอดจนมีฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรค ซึ่งประชาชนสามารถบันทึกความเสี่ยงได้ และข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังฐานข้อมูลที่สัมพันธ์กับการจัดหาเตียงด้วย.

2.3 ค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บป่วยหลังการฉีดวัคซีนโควิด (จะได้รับเงินจากสปสช. ใน 5 วันทำการ นับจากวันที่อนุกรรมการรับเรื่อง) แบ่งเป็นกรณีดังนี้

    • บาดเจ็บ / เจ็บป่วยต่อเนื่อง ได้รับเงินไม่เกิน 1 แสนบาท
    • เสียอวัยวะ /พิการ ได้รับเงินไม่เกิน 2.4 แสนบาท
    • ตาย / ทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินไม่เกิน 4 แสนบาท

ค่าประกันบุคลากรทางการแพทย์ของภาครัฐและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ COVID-19

    • กรมธรรม์คุ้มครองการเสียชีวิต ระยะเวลาคุ้มครอง 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ จำนวนเงินความคุ้มครอง 1,000,000 บาท
    • กรมธรรม์คุ้มครองภาวะโคม่าอันเนื่องมาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะเวลาคุ้มครอง 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ จำนวนเงินความคุ้มครอง 1,000,000 บาท
    • กรมธรรม์คุ้มครองผลประโยชน์กรณีตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะเวลาคุ้มครอง 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ จำนวนเงินความคุ้มครอง 10,000 บาท และกรณีเสียชีวิต จากอุบัติเหตุ จำนวน 10,000 บาท

2.4 รีวิวโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลHospitel

ประกันโควิด เตียงสนาม

จากภาพเป็น รพ.สนามที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ติดเชื้อรุนแรง ที่ยังมีกิจวัตรประจำวันแบบปกติ อย่างเช่น การทำงานในรูปแบบออนไลน์ หรือ กิจกรรมอื่นๆระหว่างวัน ทำให้คนกลุ่มวัยทำงานไม่อยากเลือกรับบริการในโรงพยาบาลสนามแต่เลือกเป็น Hospitel แทนแต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงมาก ว่ากันว่ามีราคาสูงถึง3-4 หมื่นบาท/คน หากมีประกันที่ครอบคลุม Hospitel จะช่วยผู้ที่ติดเชื้อได้แน่นอน

 

สังเกตุอาการตัวเอง กับตรวจสอบข้อมูลประกันสังคมที่ตนถืออยู่ เพื่อเลือกรูปแบบการรับบริการตรวจโควิด ถ้าคุณติดโควิด ค่าใช้จ่ายในการตรวจและรักษาภายใต้โรงพยาบาลรัฐจะได้รับการรักษาฟรี แต่หากรพ.รัฐเตียงเต็ม คุณอาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยรพ.สนาม หรือเลือกรอการจัดหาเตียง ซึ่งการอยู่รพ.สนามอาจะทำให้คุณตัดขาดการทำงานเพราะพื้นที่ไม่ได้รองรับ แต่หากคุณมีประกันก็เพิ่มทางเลือกในการรับบริการการรักษาที่รพ.เอกชนหรือรพ.Hospitel ได้ โดยรัฐจะช่วยจ่ายภายใต้อัตราที่กำหนด โดยมี 16 หมวด และไม่ครอบคลุมทุกรายการ แต่รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 25 ใน 16 หมวดข้างต้น

 

ถ้าเลือกทำประกัน คำนิยามแต่ละแบบคืออะไร ถ้าเราจะเคลมต้องมีอะไร

จากข้อมูลข้างต้น ชาวSummerTeas จะเห็นภาพ ข้อจำกัดและเงื่อนไขการรับการรักษาในโรงพยาบาลในแต่ละประเภท ทั้งนี้ จะชวนลงมาสำรวจในรายละเอียด ที่ช่วยให้เลือกรูปแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์วัยทำงานอย่างเรามากที่สุด ซึ่งเราควรมองหาเรื่องความครอบคลุมในการรักษากรณีติดเชื้อโควิด และ กรณีหากรับวัคซีนแล้วมีความเจ็บป่วย หรือถ้าไม่รับวัคซีนติดเชื้อซ้ำๆจะทำอย่างไร โดยเราทำเป็นช่องให้คุณเลือกเส้นทางพิจาณารูปแบบประกันที่สอดคล้องกับคุณ

ปัจจัยต่างๆในประกันภัยที่อยากให้คุณพิจารณา จากหลากหลายกลุ่มบริษัท

    1. ประเภทผู้ป่วยประเภทนอก / ใน ครอบคลุมรพ.สนาม-Hospitel หรือไม่
    2. ความคุ้มครองในภาวะโคม่า อยู่ที่เท่าไหร่
    3. การชดเชยรายได้ ภายใต้การรักษาในโรงพยาบาล ประเภทใด
    4. ค่ารักษาพยาบาล ในรูปแบบผู้ป่วยประเภทใด ครอบคลุมรพ.สนาม-Hospitel หรือไม่
    5. ใหม่ ความคุ้มครองเสริม
      • การชดเชยรายได้หากแพ้วัคซีน ในรูปแบบผู้ป่วยใน ครอบคลุมระหว่างสังเกตอาการหรือไม่
      • ค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อพบแพทย์หลังการรักษาการติดเชื้อ
      • ค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อโควิด สำหรับบุคคลในครอบครัวของผู้ร่วมประกันภัย
      • ค่าชดเชยรายวัน / เดือน เพื่อทราบจำนวนวันสูงสุด
      • ความคุ้มครองเพิ่มเติม เรื่องค่าทำความสะอาด

เงื่อนไขส่วนบุคคล ที่จะส่งผลกับวันเวลาที่จะซื้อ ตัวอย่างเช่น

    • กรมธรรม์นั่นผูกกับรพ.คู่สัญญาไว้หรือไม่ เพราะส่งผลกับการสำรองจ่ายก่อนหลังเคลม
    • ประวัติการติดเชื้อโควิด | ระหว่างการตรวจเชื้อ | ก่อนวันที่ประกันมีผลคุ้มครอง
    • ประวิติความเสี่ยงก่อนการทำประกันภัย เช่น มีการเดินทางไปหรือกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
    • ความคุ้มครองเรื่องการแพ้วัคซีน รุ่นใด เฉพาะวัคซีนในไทยหรือทุกยี่ห้อ
    • อาชีพของผู้ทำประกันมีความเสี่ยงสูงหรือไม่
    • สัญชาติของบุคคลและการพำนักอยู่ในประเทศ
    • จำนวนกรมธรรม์ต่อบุคคล บางโบรคเกอร์มีเงื่อนไขจำกัดจำนวนกรมธรรม์ในการซื้อ

ประกันโควิด แนวทางเลือก

คำถามที่พบบ่อยในการซื้อประกัน

1.สรุปรูปแบบประกันภาพรวมให้เข้าใจง่าย

    • คุ้มครองเฉพาะการตรวจเจอเชื้อเพียงอย่างเดียว ไม่มีค่ารักษาพยาบาล
    • คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อ และให้ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือเสียชีวิต
    • คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อ และให้ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะกรณีแพ้วัคซีน
    • คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อ และให้ค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล แต่ไม่มีค่ารักษาพยาบาล
    • คุ้มครองทั้งการตรวจเจอเชื้อ และประกันอุบัติเหตุ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ

2.ระยะเวลารอคอยอะไร

คือ ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง ถึงแม้จะเจ็บป่วย เป็นโรคที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ก็จะไม่สามารถเคลมในช่วงเวลาดังกล่าวได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากคนที่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคแล้วไม่ยอมเข้ารับการรักษา โดยมาซื้อประกันเพื่อเบิกค่ารักษานั่นเอง

3.มีประกันโควิดอยู่แล้ว แต่ไม่ครอบคลุมการแพ้วัคซีน มีซื้อเพิ่มเฉพาะแพ้วัคซีนไหม

มีแล้วเพียงค้นหา ด้วยคำว่า”ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19″ มีทั้งแบบชเเชยรายวันและโคม่าให้คุณได้เลือกรับเงินก้อนได้ตามใจชอบ

4.ซื้อประกันโควิด – 19 มากกว่า 1 กรรมธรรม์ได้หรือไม่

กรณีอาคเนย์แผนเจอ จ่าย จบ COVID 519ผู้เอาประกันซื้อได้สูงสุดวงเงินรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท (ทุกโบรกเกอร์และทุกช่องทางการขายรวมกัน)

กรณีอาคเนย์แผนเจอ จ่าย รวมแพ้วัคซีน ได้แก่ COVID 369, COVID 639, COVID 799 และ COVID 1369ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อได้ 1 ท่าน ต่อ 1 กรมธรรม์เท่านั้น

กรณีของเอเชียประกันภัยผู้เอาประกันสามารถทำประกันภัยได้ไม่เกินคนละ 2 กรมธรรม์ หรือนับที่ทุนประกันภัยรวมกันไม่เกิน 3,000,000 บาท แล้วแต่ข้อใดถึงก่อน

กรณีของวิริยะประกันภัยผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อได้ 1 ท่าน ต่อ 1 กรมธรรม์เท่านั้น

5.ประกันโควิด-19 ในปัจจุบัน มีความคุ้มครองทั้งหมดกี่ด้าน?

ประกันโควิด-19 โดยทั่วไปจะมีความคุ้มครอง 4 ด้าน คือ

      1. ตรวจเจอเชื้อ จ่ายเงินก้อน
      2. ค่ารักษาพยาบาล
      3. เงินชดเชยกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาล
      4. คุ้มครองกรณีแพ้วัคซีน

ซึ่งแต่ละแผนจากแต่ละเจ้าประกันจะมี ความคุ้มครองแตกต่างกันไป ครบ 4 บ้าง ไม่ครบบ้าง แต่สำหรับแผนประกันของเอเชีย วิริยะ และอาคเนย์ เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เจ้าที่มีครบทั้ง 4 ด้าน

6.หากเป็นผู้ถูกวินิจฉัยว่าจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อนทำกรมธรรม์และยังไม่ได้รักษาให้หายขาดสามารถทำประกันโควิดได้หรือไม่

ไม่สามารถทำได้ หากมีการถูกวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อโควิด-19

7.หากมีประกันสังคม หรือประกันสุขภาพอยู่แล้ว มีความจำเป็นต้องทำประกันโควิดเพิ่มเติมหรือไม่

ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันภัยครับ โดยประกันโควิด-19 จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้สูงขึ้นและผลประโยชน์จากการตรวจเจอไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงการชดเชยรายได้เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากประกันสังคม และประกันสุขภาพที่มีอยู่แล้ว

 

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขรายละเอียดทั้งหมดของแต่ละกรมธรรม์ เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด โดยส่วนใหญ่ประกันโควิด 19 แบบเจอ จ่าย จบ ณ ปัจจุบัน จะเน้นให้เงินก้อนเพียงครั้งเดียวเมื่อตรวจพบเชื้อ และมักไม่ได้ให้ค่ารักษาพยาบาลพ่วงมาด้วย แต่ก็มีบางกรมธรรม์ที่ให้ค่ารักษาพยาบาลเป็นหลัก ให้เงินชดเชยรายได้เมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (IPD) รวมทั้งประเภทที่คุ้มครองการแพ้วัคซีน หรือถ้าใครต้องการให้ครอบคลุมโรคอื่น ๆ นอกจากโควิด-19 ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทำประกันแบบไหน อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขและยกเว้นต่าง ๆ ให้ละเอียดครบถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อด้วย

ประกันโควิด รูปแบบ

 

ซื้อแล้วตอนเคลมเป็นอย่างไร รีวิวเรื่องเล่าจากของจริงและชาวเนต

ประกันโควิดในท้องตลาดที่มีอยู่ปัจจุบันหาซื้อได้ง่ายมาก ทั้งโดยตรงจากทางเว็บไซด์หรือชำระผ่านช่องทางอื่นๆเช่น แอพช้อปปิ้งออนไลน์เจ้าดังๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงง่ายและช่วยลดความให้คุณได้ แต่อย่าลืมว่าหากคุณได้ซื้อไปแล้วได้ใช้สิทธิความคุ้มครองก็ต้องเตรียมตัว เตรียมหลักฐานให้เพร้อมเพราะบางเจ้าการส่งเอกสารก็เป็นเรื่องยากจนไม่ถูกใจกันตอนขอเคลมนี่แหละจ้า SummerTeasจึงพามาตรวจสอบข้อสงสัยในข้อเกี่ยวเนื่องต่างๆในการเคลมระหว่างที่คุณเจ็บป่วยและเตรียมตัวหลังได้รับการรักษาแล้วดังนี้

    • คำถามที่พบบ่อยในการเคลมประกัน
    • รวมรายชื่อ Hospitel ล่าสุด มีให้บริการที่ไหนบ้าง
    • ขั้นตอนการเคลมประกัน
    • รีวิวชาวเนต

4.1 คำถามที่พบบ่อยในการเคลมประกัน

1.รพ.ทั่วไปเตียงเต็ม ต้องไปนอน รพ.สนามหรือ Hospitel เคลมได้มั้ย ?

หลังจากตรวจพบเชื้อก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ อันดับแรกทาง รพ. ที่เราไปตรวจจะต้องประสานงานจัดหาเตียงให้ หากต้องแอดมิตรพ.เอกชนแล้วพบว่าเตียงเต็มก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีที่รักษานะคะ เพราะล่าสุด คปภ. ได้ออกคำสั่งใหม่มาแล้วว่าผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาตัวในรพ.สนามและ Hospitel ให้ถือว่าเป็น “ผู้ป่วยในและสามารถเคลมประกันโควิดได้” เฉกเช่นเดียวกับการรักษาตัวใน รพ.ทั่วไปนั่นเองค่ะทุกคน

 

2.ตรวจพบเชื้อ รพ.ไหน จำเป็นต้องแอดมิต รพ. นั้นหรือไม่ ?

ตรวจเจอเชื้อที่รพ.รัฐ – หากมีประกันโควิดหรือประกันสุขภาพ สามารถขอเอกสารยืนยันการติดเชื้อเพื่อย้ายไป รพ.เอกชนได้ค่ะ หากมีเตียงว่างก็แอดมิตได้เลย แต่หากเตียงเต็มจะถูกโยกไปยัง Hospitel นั่นเองค่ะ

ตรวจเจอเชื้อที่รพ.เอกชน – หากมีประกันโควิดหรือประกันสุขภาพก็เช็คสิทธิ์ของตัวเองกันได้เลยค่ะว่ามีสิทธิ์รักษา รพ.ที่ตรวจพบเชื้อมั้ย ? ถ้าได้ก็แอดมิตได้เลย แต่หากไม่ใช่ รพ.คู่สัญญาของบริษัทประกันที่ถืออยู่ ก็มีความจำเป็นต้องย้ายไป รพ.ใหม่ที่ใช้สิทธิ์ได้ หรือถ้าอยากได้ความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นก็แสดงความจำนงขอไปรักษาแบบ Hospitel ก็ทำได้เช่นกันค่ะ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ จะเคลมได้หรือไม่ในทุกเคสที่กล่าวถึง ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทประกันด้วยนะคะ เรามาดูหัวข้อถัดไปเพื่อตอบคำถามกันเลยค่ะ

 

4.2 รวมรายชื่อ Hospitel ล่าสุด มีให้บริการที่ไหนบ้าง ?  คลิ๊กลิ้งค์จองได้เลย!

      1. รร. โอโซน โฮเต็ล แอท สามย่าน 40 เตียง (รพ.วิภาราม)
      2. รร. รอยัล รัตนโกสินทร์ 150 เตียง (รพ.ปิยะเวท)
      3. รร. อินทรา รีเจ้นท์ 455 เตียง (รพ.ปิยะเวท)
      4. รร. สินศิริ รามอินทรา 69 เตียง (สินแพทย์ เสรีรักษ์)
      5. รร. ชีวา 75 เตียง (รพ.กรุงเทพ)
      6. รร. พูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท 324 เตียง (รพ.ธนบุรี)
      7. รร. สินสิริ 1 จำนวน 52 เตียง (รพ สินแพทย์)
      8. รร. สินสิริ นวมินทร์ (รพ สินแพทย์)
      9. รร. ฌอกะเชอ 200 เตียง (รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์)
      10. รร. มาเลเซีย (รพ.สุขุมวิท)
      11. รร. โซรีเทร์ สุขุมวิท (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      12. รร. คิงส์ตั้นสวีทส์ (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      13. รร. รอยัล เพรสซิเด้นท์ (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      14. ฮอลิเดย์อินน์ มาบุญครอง (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      15. รร. Justice (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      16. รร. Court wing (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      17. รร. ริชมอนด์ (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      18. รร. บันดารา (รพ.ในเครือเกษมราษฎร์)
      19. รร. โอทู ลักซ์ชัวรี่ (รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์)
      20. รร. อนันดา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท (รพ.บำรุงราษฎร์)
      21. รร. เดอะกรีนวิว (รพ.บางปะกอก9)
      22. รร. เดอะเมเปิล (รพ.สินแพทย์ ศรีนครินทร์)
      23. รร. เวิร์ฟ โฮเต็ล (รพ.เมดพาร์ค)
      24. รร. แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ สาทร (รพ.เลิดสิน)
      25. รร. โนโวเทล กรุงเทพ ฟินิกซ์ เพลินจิต (รพ.สมิติเวช สุขุมวิท)

 

 

ประกันโควิด เคลม

4.3 ขั้นตอนการเคลมประกัน

เรื่องเอกสารเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเคลม ผู้ทำประกันควรจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมระหว่างทำการรักษาและ วันเวลาในการยื่นเรื่องขอเคลม เพราะทุกบริษัทจำกัดระยะเวลาการเคลม เช่น ภายใน30 วัน จะไม่สามารถขอรับเงินความคุ้มครองได้ ซึ่งมีขั้นตอนการเตรียมตัวและเอกสาร ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 : ติดต่อบริษัทประกันที่คุณทำประกันภัยโควิด-19 ไว้  ซึ่งจะเป็นทางช่องทางออนไลน์ หรือเบอร์โทรศัพท์ก็ได้เช่นกัน

ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมเอกสารสำหรับการเคลมให้พร้อม โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมี ดังนี้

      • กรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ซึ่งจะได้รับหลังจากการสัญญาทำประกันภัยเรียบร้อยดีแล้ว โดยภายในกรมธรรม์จะระบุถึงรายละเอียดสำคัญต่างๆ อาทิ รายละเอียดความคุ้มครอง ชื่อผู้เอาประกัน หรือชื่อผู้รับผลประโยชน์
      • แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมจากบริษัทประกันที่คุณตกลงทำประกันภัยโควิด
      • ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่วินิจฉัยว่าผู้เอาประกันภัยมีการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19
      • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ตรวจพบเชื้อโคโรนาไวรัส–โควิด-19 (Novel- Coronavirus หรือ 2019-CoV)
      • สำเนาหน้าบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย
      • สำเนาหน้าบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์
      • สำเนาหน้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้เอาประกันภัย
      • ใบเสร็จค่ารักษา หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งเกิดจากการเจ็บป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ตัวจริง

หมายเหตุ : กรณีที่ทำประกันภัยโควิด-19 ไว้หลายกรมธรรม์และจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จค่ารักษาหลายฉบับ คุณไม่สามารถทำการคัดลอกได้เอง ต้องขอสำเนาจากโรงพยาบาล และมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเซ็นรับรองให้เท่านั้น

ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
ตรวจสอบชื่อผู้เอาประกัน ชื่อผู้รับผลโยชน์ หมายเลยบัตรประชาชน วัน เดือน ปีเกิด รายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่เพื่อเป็นรักษาผลประโยชน์ให้กับตัวคุณเอง หรือครอบครัวของคุณ อีกทั้งยังช่วยให้หน้าที่ของบริษัทประกันภัยทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเร็วขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 : ส่งเอกสารให้กับบริษัทประกันภัย
สำหรับขั้นตอนนี้สามารถจัดส่งเอกสารสำหรับเคลมประกันได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ ไปรษณีย์ หรือบริการขนส่งเอกสารอื่นๆ อาจจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด และควรทำใบปะหน้าที่ระบุรายชื่อเอกสารทั้งหมดที่ส่งแนบไปด้วยเพื่อป้องกันเอกสารหล่นหาย

ขั้นตอนที่ 5 : รอรับเงิน
หลังจากที่เอกสารได้รับการตรวจสอบเรียบร้อย บริษัทผู้รับประกันจะดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ ซึ่งจะได้เงินช้าหรือเร็วแล้วก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอน และเงื่อนไขของแต่ละบริษัท โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาภายใน 7–30 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ทางบริษัทฯ ได้รับเอกสารประกอบการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนครบถ้วน

หมายเหตุ : หลังจากที่รับเงินค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อยแล้วอย่าลืมตรวจทานมูลค่าเงินด้วยว่าครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์หรือไม่ และกรณีที่ไม่ถูกต้องให้รีบแจ้งตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกันทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้อาจทำให้คุณไม่สามารถไปขอเงินส่วนที่ขาดได้ ดังนั้นจงรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวเอง และครอบครัวให้ดี

 

4.4 รีวิวผู้ซื้อประกัน

ตัวอย่าง ผู้เสียหายกล่าวเรื่องการเบิกเคลมยุ่งยากรอเอกสารระหว่างรักษาไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะออกโรงพยาบาลทำให้เสียเวลาจัดการภายหลัง ทั้งที่ระหว่างรักษาตัวมีเวลาดำเนินการและป่วยจริง ข้อมูลอ้างอิงในช่วงหลังมีผู้ซื้อประกันโดยเจตนาจงใจติดเชื้อโควิดเพื่อการลงทุนรับเบี้ยประกัน และฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจเพื่อการสร้างรายได้สามารถถูกดำเนินคดีได้ บางโบรคเกอร์จึงจำกัดจำนวนกรมธรรม์ในการซื้อ

ประกันโควิดรีวิว

ภาพและข้อมูลทั้งหมดที่เราชาว SummerTeas ได้รวบรวมให้ผู้อ่านพิจารณา ประกันในท้องตลาดและเห็นภาพรวม ของประกันแต่ละแบบ โดยอย่าลืมพิจารณาเงื่อนไขเฉพาะบุคคลอย่างเช่น เงื่อนไขตามสิทธิประกันตนที่มีอยู่เดิมจากภาครัฐ เงื่อนไขจากลักษณะงานที่ทำประจำอยู่ และรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นครอบครัวเล็กหรือใหญ่ และขาดไม่ได้เรื่องความสะดวกสบายในการเคลม ให้สัมพันธ์กับเงินในกระเป๋าของคุณแบบสำรองจ่ายก่อนหรือเลือกประกันโดยพิจารณาจากโรงพยาบาลคู่สัญญาที่ใกล้บ้านคุณ เผื่อไว้ในอนาคตเบิกจ่ายเคลมได้สะดวกไม่ต้องสำรองจ่ายซึ่งเป็นเงื่อนไขที่คุณควรพิจารณาให้สอดรับกับยุคเศรษฐกิจนี้เช่นกันค่ะ จะช่วยให้การซื้อประกันโควิดคุ้มค่าอย่างสูงสุด

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง