อะไรคือภูมิแพ้ตัวเอง

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

ต้นทางของปัญหาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันนั้นมีหลากหลายรูปแบบที่นำไปสู่โรคต่างๆ เรามาทำความเข้าใจกันว่าภูมิคุ้มกัน(immune system) คืออะไรภูมิคุ้มกัน คือ ระบบที่ประกอบขึ้นจากโครงสร้างและกระบวนการทางชีวภาพหลายอย่างประกอบกัน มีหน้าที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น

ดูแลสุขภาพชีวิตในทุกมิติกับ Summerteas

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์ ระบบภูมิคุ้มกันจะประกอบด้วยระบบย่อยสองระบบ ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (innate) และระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive) ทั้งสองระบบย่อยนี้ทำงานโดยอาศัยทั้งการตอบสนองแบบอาศัยสารน้ำ (humoral) และแบบอาศัยเซลล์ (cell-mediated) สำหรับมนุษย์มีการพบว่าจะมีระบบภูมิคุ้มกันสำหรับระบบประสาทแยกออกมาต่างหาก ทำหน้าที่ปกป้องสมอง โดยถูกแยกจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายตามปกติด้วยตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมองและตัวกั้นระหว่างเลือดและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง  การตอบสนองที่ผิดปกติของภูมิคุ้มกันมี 3 แบบ คือ

  1. ภาวะแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmunity)
  2. ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity)
  3. ภาวะพร่องทางภูมิคุ้มกัน (Immunodeficiency)

โรคภูมิแพ้ตนเอง (ต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง)

โรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Diseases)เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถแยกแยะว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์แปลกปลอมเซลล์ใดเป็นเซลล์ของร่างกาย ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ของตัวเองไปพร้อมๆ กับเซลล์แปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย อวัยวะต่างๆ จึงได้รับความเสียหาย และใช้งานไม่ได้ในที่สุด

โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเองถูกเรียกด้วยชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคภูมิต้านตนเอง โรคภูมิเพี้ยน ฯลฯ ซึ่งคนมักสับสนระหว่างโรคแพ้ภูมิตัวเองกับโรคพุ่มพวง (โรค Systemic Lupus Erythematosus หรือที่มักเรียกสั้นๆ ว่า Lupus) ความจริงแล้วโรคพุ่มพวงถือว่าเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง โรคในกลุ่มนี้ยังมีอีกมากกว่า 80 โรคโดยอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.Organ-Specific Autoimmune Diseases โรคในกลุ่มนี้เกิดจากการที่มีภาวะภูมิต้านทานต่อแอนติเจนของตนเอง ที่จำเพาะในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ดังนั้นจึงมีการแสดงออกของโรคที่จำเพาะในแต่ละอวัยวะนั้นๆ ด้วย ตัวอย่างโรคที่สำคัญได้แก่

  • Hashimoto’s Thyroiditis หรือโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน
  • Graves โรคเกรฟส์ โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
  • Multiple Sclerosis: MS โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • Myasthenia Gravis; MG โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • vitiligo โรคด่าวขาว
  • type 1 diabetes โรคเบาหวานชนิดที่ 1
  • Autoimmune hepatitis ตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน

2.Systemic Autoimmune Diseasesโรคที่มีการทำลายอวัยวะหลายระบบ เป็นโรคที่มีการทำลาย เยื่อบุ ผิวหนัง ข้อต่อ และอวัยวะภายในหลายระบบ โดยเฉพาะ ไต หัวใจ สมอง เม็ดเลือดแดง ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการ ผื่นรูปผีเสื้อบริเวณใบหน้า ผื่นแพ้แสงแดด ผมร่วง แผลในปาก ปวดข้อ หรือข้ออักเสบ มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด ภาวะไตอักเสบทำให้มีอาการบวม, ปัสสาวะเป็นฟอง ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก หรือแม้แต่อาการทางสมอง เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ ชักเกร็ง ตัวอย่างโรค จากกลุ่มนี้

  • SLE โรคลูปัส หรือโรคพุ่มพวง
  • ARF โรคไข้รูมาติก
  • RA, Rhueumatoid arthristis โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • SS, scleroderma โรคหนังแข็ง
  • SjS, Sjögren’s syndrome กลุ่มอาการโจเกรน
  • Systemic Vasculitis โรคหลอดเลือดอักเสบ
  • Dermatomyositis โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ
  • Psoriasis โรคสะเก็ดเงิน

ควรตรวจหาโรคภูมิต้านเนื้อเยื้อตนเองหรือไม่

ส่วนใหญ่ เราจะทราบได้เมื่อเราเจ็บป่วยแบบมีอาการสอดคล้องกับโรค ซึ่งมีปัจจัยเรื่องอายุเข้ามาเกี่ยวข้อง บางโรคจะเกิดอาการเมื่ออายุช่วงวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ ทางแพทย์ก็จะหาสาเหตุด้วยการตรวจเลือดหรือการนำชิ้นเนื้อบางส่วนของโรคนั้นๆไปตรวจประกอบการวินิฉัยโรค ซึ่งจะมีระยะเวลาการรอผลที่แตกต่างกันไป เราไม่จำเป็นจะต้องไปขอตรวจก่อนเพื่อป้องกัน เพราะโรคนี้ไม่ได้เกิดง่ายๆกับทุกคน แต่เราควรรักษาสุขภาพให้ดีอยู่ตลอดจากการทานอาหารครบห้าหมู่ สด สะอาด ปลอดภัยและออกกำลังกายเป็นประจำ

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายประการรวมกัน เช่น

  1. พันธุกรรม หากมีความผิดปกติของยีนส์ หรือโครโมโซมที่ควบคุมการทำงานของภูมิคุ้มกัน เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะภูมิต้านตนเองได้
  2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิคุ้มกันสูญเสีย tolerance โดยเฉพาะการติดเชื้อ การสูบบุหรี่ รังสีอัลตราไวโอเลต และยาบางชนิด
  3. ฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน
  4. อายุ การทำงานของ regular T lymphocyte จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

วิธีการตรวจหาโรคมีหลากหลายแนวทางตามโรคนั้นๆ เช่น

  1. การตรวจหาออโตแอนติบอดี (autoantibodies) หาค่าแสดงของ ANA, ANCA
  2. การตรวจหาหลักฐานการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนทางอิมมูน (ระดับคอมพลีเมนต์ในเลือด C3-4)
  3. การตรวจประเมินการทำลายอวัยวะ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค

การรักษาโรคภูมิแพ้ตนเอง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของกลุ่มโรคนี้ได้ เช่น ใช้ยากลุ่ม NSAIDs ในรายที่อาการไม่รุนแรง หากรุนแรงขึ้นก็อาจต้องให้ร่วมกับยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือ แม้แต่ยากดภูมิต้านทาน ซึ่งผลข้างเคียงของยาดังกล่าวมีมากมาย เช่น สเตียรอยด์ ทำให้ตัวบวม หน้าบวม เสี่ยงเบาหวาน กระดูกพรุน ติดเชื้อง่าย ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิดเป็นพิษต่อตับ ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งไปแทน แต่ถามว่ายาผลข้างเคียงอันตราย ทำไมแพทย์จำเป็นต้องให้ ถ้าโรคลุกลามรุนแรง แพทย์ก็ต้องให้เพื่อลดการอักเสบที่อันตรายให้ลดลงมาก่อน เพื่อช่วยชีวิตและป้องกันความทุพพลภาพที่อาจเกิดตามมาของผู้ป่วยแต่ในระยะยาวเนื่องจากโรคเหล่านี้มักเป็นโรคที่รักษาไม่หายต้องควบคุมอาการ หรือแม้แต่บางคนต้องทานยาไปตลอด ดังนั้น คนไข้มีโอกาสจะเกิดโรคที่เกิดจากผลข้างเคียงของยาตามมาในที่สุด

การเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ของโรค ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตการกินอยู่ของคนในยุคปัจจุบัน  คนในยุคปัจจุบันกำลังสะสมสารเคมีต่างๆ อยู่ในร่างกายโดยไม่รู้ตัว มีงานวิจัยที่ตรวจสอบเลือดจากสายสะดือของทารกแรกเกิด พบสารเคมีจากอุตสาหกรรมกว่า 287 ชนิด เช่น ยาฆ่าแมลง สารไดอ็อกซิน เทฟลอน โลหะหนัก(ปรอท ตะกั่ว) อีกทั้งการใช้ยาบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของลำไส้ ทำให้โปรตีนหรือสารพิษที่ปกติแล้วไม่ควรเข้าไปในระบบเลือดและน้ำเหลืองของร่างกายได้ สามารถเข้าไปกระตุ้นจนทำให้เกิดภูมิผิดปกติขึ้นมา

สรุป

ผู้ป่วยที่จะเป็นกลุ่มโรคนี้ ทางการแพทย์ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัดเพียงแต่ระบุปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการเกิดของโรคกลุ่มนี้ได้จาก พันธุกรรมหรือสารเคมีในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับโดยไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจะมีอาการเรื้อรังบางอย่างที่เกิดกับหลายระบบหรืออวัยวะเดียวและมีความรุนแรงกว่ามาก ทำให้หลายคนมักสับสนกับโรคภูมิแพ้ เพราะบางอาการเช่น ผื่นคัน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีความคล้ายคลึงกันนั้นเอง ส่วนการรักษาของกลุ่มโรคภูมิแพ้ตนเอง เป็นไปในแบบที่ควบคุมให้โรคอยู่ในภาวะสงบ และสามารถกับมาเป็นใหม่ได้อีกโดยที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจึงต้องดูแลรักษาร่างกายไว้อยู่ตลอด ในเรื่องสมดุลองค์รวมของร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันตกซึ่งจะทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้

 

โรคภูมิแพ้

จากข้างต้นเราจะเห็นการดำเนินของโรคภูมิแพ้ตนเองแล้วซึ่งมักจะเป็นเรื้อรังและค่อนข้างรุนแรง ซึ่งความใกล้เคียงในอาการบ้างอย่าง และเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันทั้งคู่ ทำให้เราสับสนกับการเป็นโรคภูมิแพ้ทั่วๆไปเช่น ผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ผมร่วง อ่อนเพลีย แต่ความแตกต่างจะของโรคภูมิแพ้ จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายทำปฏิกิริยาไวต่อสารที่ก่อให้เกิดอาการ เช่น เกสรดอกไม้-ขนแมว-ฝุ่น แต่โรคภูมิแพ้ตนเองนั้น ร่างกายจะทำปฏิกิริยากับเซลล์เนื้อเยื่อของตัวเองเพราะแยกแยะสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ได้ทำให้โจมตีหลายๆเซลล์ในร่างกายทั้งดีและไม่ดี ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคได้

คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยที่ร่างกายจะมีปฏิกิริยาไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค ภูมิคุ้มกันออกมาจำนวนมากทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานเกินพอดี ก่อเกิดปฏิกิริยาอักเสบที่เกินพอดี เป็นโรคที่หาสาเหตุได้ ในประเทศไทยปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น 3 – 4 เท่า หากเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบว่า เด็กไทยเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึงร้อยละ 38 และผู้ใหญ่เป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 20 โดยสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจาก

  1. กรรมพันธุ์
  2. มลภาวะ
  3. สูบบุหรี่
  4. ขาดการออกกำลังกาย
  5. สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปูพรม เครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและไรฝุ่นชั้นดี เป็นต้น

โรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย  เป็นความผิดปกติที่ภูมิคุ้มกัน ทำงานเกินพอดี กล่าวคือ มีเชื้อโรคเข้ามาปกติ แต่ภูมิคุ้มกันออกมาจำนวนมาก ก่อเกิดปฏิกิริยาอักเสบที่เกินพอดี ได้เป็นอาการรุนแรง ที่เราเรียกว่า ภูมิแพ้ เช่น อาการหอบหืด แพ้อากาศ ไรฝุ่น ซึ่งอันที่จริงภูมิยังมิได้แพ้ แต่ทำเวอร์ คือ ตอบรับหรือต่อต้านเกินจำเป็น อาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น

  1. ถ้าเป็นที่ตา เรียกว่า โรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis)
  2. ถ้าเป็นที่จมูก เรียกว่า โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือโรคแพ้อากาศ
  3. ถ้าเป็นที่หลอดลม เรียกว่า โรคหลอดลมอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคหืด (asthma)
  4. ถ้าเป็นที่ผิวหนัง เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis)
  5. ถ้าเป็นที่ระบบทางเดินอาหาร เรียกว่า โรคแพ้อาหาร (food allergy)

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

อาการแสดงที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ที่ระบบต่างๆ โดยเป็นมานานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป เช่น

  1. ถ้ามีอาการ คันและเคืองตา  ตาแดง  น้ำตาไหล  หนังตาบวม  แสบตา อาจเป็นอาการของโรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis)
  2. ถ้ามีอาการจาม  คันจมูก  น้ำมูกไหลออกมาทางจมูก หรือไหลลงคอ  คัดจมูก  คันเพดานปากหรือคอ อาจเป็นอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือโรคแพ้อากาศ
  3. ถ้ามีอาการ ไอ หอบเหนื่อย หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว โดยเฉพาะเวลาตอนกลางคืน  ตอนเช้ามืด หรือขณะออกกำลังกาย  หรือขณะเป็นไข้หวัด อาจเป็นอาการของโรคหลอดลมอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคหืด (asthma) เนื่องจากเป็นอาการรุนแรงเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งสารสเตียรอยด์ หรือสารที่สั่งการเกี่ยวกับระบบประสาท ตัวรับทางประสาททั้งหลาย
  4. ถ้ามีอาการ คัน  มีผดผื่นตามตัว  ผื่นมักแห้ง แดง มีสะเก็ดบางๆ หรือมีน้ำเหลืองแห้งกรังปกคลุมอยู่  ในเด็กเล็ก มักเป็นที่แก้ม, ก้น, หัวเข่าและข้อศอก  ในเด็กโตมักเป็นที่ข้อพับของแขนและขา  ในรายที่เป็นเรื้อรัง ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะหนาตัวขึ้นและมีสีคล้ำขึ้น  ผิวหนังอาจมีการอักเสบเป็นตุ่มนูนคัน หรือใหญ่เป็นปื้นนูนแดง และคันมากที่เรียกว่า ลมพิษ  ซึ่งมักจะเกิดจากการแพ้อาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล หรือ แพ้แมลงกัดต่อย หรือแพ้ยา อาจเป็นอาการของโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis)
  5. ถ้ามีอาการ อาเจียน  คลื่นไส้  ท้องเสีย ปากบวม  ปวดท้อง  ท้องอืด อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ (เช่น หอบหืด, แพ้อากาศ) และผิวหนัง (เช่น ผื่นคัน, ลมพิษ) ร่วมด้วย  หลังรับประทาน นมวัว ไข่ ถั่ว อาหารทะเล  ผักและผลไม้บางชนิด ผงชูรส สารกันบูด สารแต่งกลิ่นและสี อาจเป็นอาการของ โรคแพ้อาหาร (food allergy)

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้อะไร เราสามารถทดสอบจาก 3 วิธีการนี้

  1. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Prick Test) การทดสอบภูมิแพ้เป็นการทดสอบภูมิแพ้ต่อสารชนิดต่างๆ ทางผิวหนัง โดยแพทย์จะเป็นผู้ทำการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบภูมิแพ้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้สารใดบ้าง
  2. วิธีฉีดเข้าผิวหนัง (Intradermal Test) เป็นการฉีดน้ำยาเข้าผิวหนังเป็นจุดเล็กๆ ซึ่งทำยากกว่าและเสียเวลามากกว่า เจ็บกว่าและใช้อุปกรณ์มากกว่า และทั้งเสี่ยงต่อการแพ้ทั่วร่างกายได้มากกว่า (ไม่เป็นที่นิยม)
  3. การทดสอบผ่านทางการตรวจเลือด หรือที่เรียกว่า “การเจาะเลือดเพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ ชนิด Immunoglobulin E (IgE)

 

กลุ่มภูมิการแพ้ทางอากาศ ตรวจสอบได้จากอะไร

1.การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Prick Test) การทดสอบภูมิแพ้เป็นการทดสอบภูมิแพ้ต่อสารชนิดต่างๆ ทางผิวหนัง โดยแพทย์จะเป็นผู้ทำการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบภูมิแพ้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้สารใดบ้าง เช่น แมลงสาบ ขนแมว ไรฝุ่น เชื้อรา ขนสุนัข เกสร หญ้า ฝุ่นบ้าน และแพ้อาหารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการทดสอบชนิดนี้ไม่ทำให้คนไข้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด และแพทย์ก็สามารถแจ้งผลการตรวจให้คนไข้ทราบได้ทันที

ข้อดีของการตรวจภูมิแพ้ทางผิวหนัง

1.ง่ายที่สุด    2.ได้ผลรวดเร็ว     3.อันตรายน้อย     4.เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีอื่นๆ

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

ขอบคุณภาพจาก Vectorstock

 

ก่อนการทดสอบ

ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้งดยารับประทานโดยเฉพาะยาต้านฮิสตามีน เช่น ยาแก้แพ้ แก้หวัด ลดน้ำมูก เป็นต้น ควรงดยาตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนทำการทดสอบ

โดยทั่วไปการทดสอบจะใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ประมาณ 10 ชนิด และจะอ่านผลการทดสอบภายใน 15-20 นาที    ถ้าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด จะเกิดรอยนูน และมีผื่นแดงรอบๆ จุดที่ทำการทดสอบ  ผู้ป่วยอาจรู้สึกคันเล็กน้อยตรงจุดนั้น เจ้าหน้าที่จะวัดขนาดของรอยนูน บันทึกไว้ และแพทย์จะอธิบายให้ทราบว่าผู้ป่วยแพ้อะไร

หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ถ้ายังมีผื่นแดงบริเวณที่ทดสอบภูมิแพ้นั้น ผู้ป่วยจะต้องวัดขนาดของผื่นแดงและบันทึกไว้ เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบในวันที่นัดมาพบครั้งต่อไป ผื่นนั้นจะค่อยๆ จางหายไปเอง

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังแบบสะกิดเหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหืดตั้งแต่เด็ก
  • สามารถทำได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ผลการทดสอบจะแม่นยำมากในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  • กรณีทดสอบในผู้สูงอายุ อาจพบผลลบลวงได้มาก เพราะความไวของผิวหนังน้อยลง นอกจากนี้อาจมีโรคประจำตัว หรือยาที่รับประทานเป็นประจำ ซึ่งรบกวนการเกิดปฏิกิริยาของผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ ดังนั้น อาจต้องใช้การเจาะเลือดร่วมพิจารณาด้วย อ่านฉบับเต็มได้ที่

 

กลุ่มภูมิการแพ้ทางอาหาร ตรวจสอบได้จาก

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Tests) ผู้ป่วยต้องไม่มีอาการเจ็บป่วยอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ก่อนวันที่ทำการทดสอบ และงดรับประทานยาแก้แพ้ 1 สัปดาห์ ก่อนวันที่ทำการทดสอบ เมื่อทดสอบแล้วสามารถทราบผลได้ภายใน 15 – 20 นาที (ในกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรงจะสามารถทดสอบได้หลังจากมีอาการ 1 เดือน)

การตรวจเลือด (Blood Test For Specific IgE) ไม่ต้องงดยาแก้แพ้ก่อนการทดสอบ เมื่อทดสอบแล้วสามารถทราบผลได้ภายใน 3 – 5 วันทำการ โดยมีทั้งผลเป็นบวกและลบ

  • ผลเป็นบวก แพทย์อาจให้งดหรืออาจให้ทำทดสอบด้วยการรับประทานอาหาร (Oral Food Challenge) ตามความเหมาะสม (ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้อยู่ก่อนแล้วและต้องการรู้ว่าหายแพ้แล้วหรือไม่) และขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • ผลเป็นลบ อาจพิจารณาทำการทดสอบด้วยการรับประทานอาหาร (Oral Food Challenge)

ปฏิกิริยาอาการแพ้อาหาร (Food Allergy) แบ่งออกเป็น

  • ชนิดไม่เฉียบพลัน (Non – IgE – Mediated Food Allergy) เป็นกลุ่มที่มีอาการแบบล่าช้า ค่อย ๆ ปรากฏอาการหลายชั่วโมงหรือเป็นวันหลังจากรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว เช่น ผื่นเรื้อรัง โดยจะมีผื่นแดง คัน แห้ง ในเด็กมักจะเป็นบริเวณที่แก้มหรือข้อพับ ถ้าเป็นอาการที่ระบบทางเดินอาหาร เมื่อได้รับอาหารที่แพ้อาจถ่ายเป็นมูกเลือด อาเจียน และถ่ายเหลวรุนแรง
  • ชนิดเฉียบพลัน (IgE – Mediated Food Allergy) มีอาการตาบวม ปากบวม ผื่นลมพิษ หลอดลมตีบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดท้อง อาเจียน โดยอาการจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาที – 1 ชั่วโมง หลังจากรับประทานอาหาร และมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้รุนแรงได้
  • ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) เป็นอาการแพ้ในระดับรุนแรงที่สุดและเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผื่นแดงตามผิวหนัง ลมพิษ คัน ผิวหนังแดงหรือซีด วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเสีย

ผู้ที่เหมาะกับการทดสอบแพ้อาหาร

  • ผู้ที่เคยทานอาหารได้ แต่ต่อมาถูกวินิจฉัยว่าแพ้อาหารและต้องการพิสูจน์ว่าแพ้หรือไม่
  • ผู้ที่เคยตรวจจากผลเลือดว่าแพ้อาหาร แต่ไม่มีอาการ
  • ผู้ที่เคยมีประวัติยืนยันว่าแพ้อาหาร แต่ต้องการรู้ว่าหายแล้วหรือยัง
  • ผู้ที่สงสัยว่าตนเองแพ้อาหาร แต่มีอาการแสดงไม่ชัดเจน

 

ในยุคปัจุจบัน การตรวจเลือด ก็เป็นอีกทางเลือกที่เร็ว และให้ค่าได้แม่นยำอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งกลุ่มภูมิแพ้ที่แสดงอาการ ผ่านทางตา ผิวหนัง ทางเดินหายใจ สามารถครอบคลุมทั้งระบบร่างกาย และมีตัวเลือกในการตรวจหาสารภูมิแพ้ที่ละเอียดและมากขึ้น ตามแต่ละโรงพยาบาลหรือ สถานที่ให้บริการตรวจแลป โดยสามารถค้นหาจากคำว่า ” ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ด้วยเลือด” , ” ตรวจภูมิแพ้อากาศและอาหารรวม … ชนิด ด้วยเลือด “, “ตรวจภูมิแพ้อาหารและอากาศแบบฉับพลัน … ชนิด ด้วยวิธีตรวจเลือด ” โดยราคาเริ่มต้น มีตั้งแต่ 2,000 – 5,000 ขึ้นอยู่กับรายการที่ตรวจพบและโรงพยาบาล มาดูตัวอย่าง สารก่อภูมิแพ้ได้ดังนี้

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ

  • กรรมพันธุ์ กรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้คือสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย เพราะภูมิแพ้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ถ้าพ่อ หรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 30% แต่ถ้าหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกที่เกิดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 60-70 %
  • สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายของเรา เกิดจากภาวะแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่นการหายใจ การรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งการสัมผัสสารที่ร่างกายได้รับ หรือสัมผัสแล้วทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ขาว อาหารทะเลนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ อากาศเปลี่ยน การสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่

 

การรักษาโรคภูมิแพ้

  1. การใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้แพ้ แอนตี้ฮีสตามีน ยาขยายหลอดลม ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ในอดีตส่วนใหญ่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะได้รับการรักษาแค่ระดับนี้ จึงทำให้รู้สึกว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่รักษายาก รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ดังนั้นคนที่มีอาการภูมิแพ้ต่อเนื่องควรได้รับการรักษาในระดับที่ 2
  2. การใช้ยาต้านการอักเสบ มักจะอยู่ในรูปของยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดเข้าทางปาก
  3. การใช้วัคซีนภูมิแพ้ เป็นการรักษาโดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย เริ่มจากปริมาณน้อยๆ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนร่างกายเกิดความชินต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ต่อไปเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้นั้นอีก ผู้ป่วยก็จะไม่มีอาการ แต่ก่อนจะเลือกการรักษาด้วยการฉีดวัคซีน จำเป็นต้องตรวจให้ทราบก่อนว่ามีการแพ้สารอะไร ซึ่งทราบได้จากการทำทดสอบทางผิวหนัง และการเจาะเลือด ถ้าผู้ป่วยตอบสนองต่อการฉีดวัคซีน ในระยะต่อมาอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาประเภทอื่นอีกเลย
  4. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หากป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเผชิญกับสิ่งที่มีสารที่ตนแพ้ เช่น ผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทะเลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารแปรรูป อาหารสด หรืออาหารแห้ง ผู้ที่แพ้ฝุ่นควรหลีกเลี่ยงการเดินทางบนท้องถนนที่มีฝุ่นควัน ไม่ลดกระจกลงขณะโดยสารอยู่บนรถ หลีกเลี่ยงการเดินผ่านเขตบริเวณที่มีการก่อสร้าง และดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและห้องนอน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดเข้าถึง เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่นและไรฝุ่นที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

ข้อควรระวังในโรคภูมิแพ้ ที่มีอาการรุนแรง กับ 2 กลุ่มโรคอาการดังนี้

โรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรง (Anaphylaxis)

ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงขึ้น เช่น มีผื่นขึ้นเต็มตัวและมีอาการคันตลอดเวลา เป็นลมพิษ หน้าซีดหรือหน้าแดง คอบวม แน่นหน้าอก หายใจติดขัด อาเจียน ท้องร่วง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่แพ้อาหาร แพ้แมลง และแพ้ยา

โรคหอบหืด

ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่าคนทั่วไป โดยมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจเสียงดัง ไอ แน่นหน้าอกหรือเจ็บที่หน้าอก มีปัญหาในการนอนเนื่องจากการหายใจที่ผิดปกติ ทำให้นอนยากหรือนอนแล้วรู้สึกตัวขึ้นกลางดึก หอบหืดเกิดจากมีสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในปอด ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ หลอดลมอักเสบ พบมากในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศซึ่งเป็นการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เมื่อมีภูมิแพ้ในลักษณะที่ไวเกินก็จะมีภูมิแพ้อีกลักษณะที่เรียกว่า อ่อนเกินไปหรือ Immunodeficiency หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถจำแนกตามสาเหตุได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency; PID)

มักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด และอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมความผิดปกติอาจเกิดขึ้นที่ระยะต่าง ๆ ในขั้นตอนการพัฒนาการของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโรคในกลุ่มนี้แม้ว่าจะพบไม่บ่อย แต่เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ส่งผลต่อสุขภาพ และอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการวิจัยและการรักษาที่ทันท่วงทีโรคในกลุ่มนี้จึงถือว่ามีความสำคัญที่นักศึกษาควรต้องรู้จัก

  1. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องทุติยภูมิ (Secondary immunodeficiency)

เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง อาทิ เช่น

  • มีแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ส่งผลให้มีการสูญเสียการทำงานของ skin barrier
  • เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือผู้สูงอายุ
  • การติดเชื้อเอดส์ หรือวัณโรค ซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวทำให้การทำงานในการกำจัดเชื้อของเม็ดเลือดขาวลดลง
  • ได้รับยาเคมีบำบัด หรือยากดภูมิคุ้มกัน
  • มีภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลให้การพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ

ปัจจุบันมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน 10 ข้อ (10 Warning signs)ที่ช่วยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ดังนี้

  1. มีการติดเชื้อที่แก้วหู (Otitis media) ≥ 4 ครั้ง/ปี
  2. มีการติดเชื้อที่ไซนัส (Sinusitis) ≥ 2 ครั้ง/ปี
  3. ต้องกินยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลา ≥ 2 เดือน เพื่อรักษาการติดเชื้อแต่ไม่ค่อยได้ผล
  4. มีการติดเชื้อที่ปอด (Pneumonia) ≥ 2 ครั้ง/ปี
  5. การเจริญเติบโตผิดปกติ
  6. มีฝีในชั้นผิวหนัง หรือฝีในอวัยวะภายในหลายครั้ง
  7. มีการติดเชื้อราในปาก หรือที่ผิวหนังเป็นระยะเวลานานในเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี
  8. ต้องให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาการติดเชื้อ
  9. มีการติดเชื้อรุนแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ≥ 2 ครั้ง
  10. มีประวัติโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดในครอบครัว

การรักษา ถ้าหากเป็นโรคนี้มาจากสาเหตุที่มาจากพันธุกรรม มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เด็กและเกิดเฉพาะในเพศชายเท่านั้น เพราะเป็นโรคที่เข้าใจยากและคิดว่าอุบัติการณ์ในประเทศไทยมีไม่สูงนัก ในปัจจุบัน การรักษาที่ดีที่สุดของโรค SCID คือ การปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งแม้จะกระทำกันมานานแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกาและในทวีปยุโรป สำหรับในประเทศไทยยังไม่สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ เพราะทารกที่เป็นโรคนี้มักจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็วจากการติดเชื้อรุนแรง แต่หากเป็นจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะขาดสารอาหาร กินยากดภูมิ หรือติดเชื้อวัณโรค การรักษาสามารถหายขาดได้

ความแตกต่างของโรคภูมิคุ้มกัน-ภูมิแพ้-ภูมิแพ้ตนเอง

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด อาการภูมิแพ้แบบHypersensitivity มีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมากระดับเสียชีวิต และเราจะป้องกันความเจ็บป่วยนี้ได้อย่างไรบ้าง SummerTeasให้คำแนะนำว่า เราควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารครบหลัก 5 หมู่และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดปัจจัยที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตกต่ำต่อเนื่องซึ่งจะนำพาเราไปสู่ความเจ็บป่วยในรูปแบบต่างๆได้  ซึ่งส่วนของโรคทางภูมิคุ้มกันนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราอยู่กับภูมิต่างๆได้คือการสังเกตตัวเองให้เป็น โดยเน้นหลักการ ดังนี้

  1. หาสารกระตุ้นเหล่านั้นให้เจอและบันทึกไว้
  2. บันทึกปริมาณของสารกระตุ้นนั้นส่งผลกับความเจ็บป่วยของเราในระดับใด
  3. พกยารักษาอาการเฉียบพลันไว้ติดตัวตลอด
  4. บอกเพื่อนหรือคนใกล้ตัวเรื่องโรคประจำตัวนี้

เพื่อให้ชีวิตของคุณง่าย และยังคงปฏิบัติตัวได้ตามปกติเหมือนเดิม กรณีที่คุณทราบว่าตัวเองเป็นระดับรุนแรง ควรตรวจสอบสิ่งที่จะรับประทานเข้าไปหรือสถานที่ๆจะเดินทางก่อนเสมอหากมีแนวโน้มที่จะพบกับสารกระตุ้นการแพ้ของเรา

ภูมิแพ้ตัวเองคืออะไร

สรุป

อาการภูมิแพ้แบบHypersensitivity ยังคงมีมากที่สุดกว่าภูมิแพ้ประเภทอื่น เนื่องมาจากปัจจัยภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้มากที่สุด ส่วนโรคภูมิแพ้ที่มีปัจจัยการพันธุกรรมหรือความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่หาสาเหตุไม่ได้ ยังคงมีเปอร์เซ็นต์ที่น้อย และหาได้ยากในประชากรส่วนใหญ่ เราเพียงมั่นสังเกตอาการและค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งน่าเชื่อถือต่างๆหรือพูดคุยกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคนั้นจริงๆ จะเป็นแนวทางในการรักษาตัวและอยู่กับโรคที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นได้อย่างวางใจและเบาใจมากขึ้นค่ะ SummerTeasขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยภูมิแพ้ทุกๆคน บางอาการมีทางรักษา และแม้ไม่มีทางรักษาให้หายขาดแต่เราสามารถใช้ยาเพื่อควบคุมให้โรคอยู่ในภาวะสงบได้ค่ะ

 

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง