ออฟฟิศซินโดรม รักษา อย่างไร พร้อมเคล็ดลับและวิธีป้องกัน

ออฟฟิศซินโดรม รักษา

อาการ ออฟฟิศซินโดรม รักษา ได้หลากหลายวิธีตามความหนักเบาของอาการที่เกิดขึ้นกับแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการไม่หนักมากสามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการการทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือใช้ยานวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ไปก่อน แต่หากว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรังควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อทำการรักษาต่อไป

อาการ “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” นั้น ถือว่าเป็นโรคที่พบได้เยอะในกลุ่มคน Gen Y และกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ เพราะลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา และพื้นที่ทำงานเช่น โต๊ะ เก้าอี้ และคอมพิวเตอร์ อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นไปตามหลักกลศาสตร์ จึงทำให้มีอาการปวดตึงตามร่างกายในบริเวณ​คอ ไหล่ หลัง เอว หากเป็นเรื้อรังมากอาจส่งผลไปถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง

อาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

  • กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
  • กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
  • นิ้วล็อก (trigger finger)
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
  • เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
  • ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
  • ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
  • หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)

อาการ ออฟฟิศซินโดรม รักษา อย่างไร

1. รักษาด้วยยา

ธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่เห็นผลได้เร็วที่สุดโดยที่กินปุ๊ป อาการของคุณจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 1 วัน โดยปกติแล้วยาแก้ไขอาการออฟฟิศซินโดรมจะมีอยู่ 2 อย่างคือยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งคุณสามารถไปโรงพยาบาลให้หมอตรวจแล้วให้หมอสั่งจ่ายยาก็ได้ (แต่วิธีนี้จะค่อนข้างแพง) ทางเลือกก็คือไปปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาอย่างเช่น Boots หรือ Watson ราคาจะถูกกว่าค่อนข้างมาก

ข้อด้อยของวิธีนี้ก็คือ อาการของคุณจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมภายใน 3-4 วันถ้าคุณไม่กินยา

2. ทำกายภาพบำบัด

ด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดตามความเหมาะสมของอาการเช่น

  • อัลตร้าซาวด์
  • เลเซอร์รักษา
  • การกระตุ้นไฟฟ้า
  • การประคบร้อน
  • การยืดกล้ามเนื้อ

การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึงการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อที่อาจเกิดตามมาจากการออกกำลังแบบผิดวิธี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว

และเมื่อมีอาการเกิดขึ้นและไม่สามารถทุเลาได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น การพักผ่อนนอนหลับ การนวด หรือการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นจากโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หรือมีภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เพื่อจะได้วิเคราะห์ต้นเหตุและให้การรักษาปวดหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ดู โรงพยาบาล คลีนิกโรคจากการทำงาน เพิ่มเติม

3. การฝังเข็ม (Accupuncture)

โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักลงไปในจุดที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว โดยให้ปลายเข็มสะกิดเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อให้คลายตัวและอาการปวดจะบรรเทาลง
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

4. การนวด

หมายถึง การใช้ นิ้วมือทําการบีบนวดไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยบําบัด ลดอาการ เจ็บปวด ลดอาการบวม ซึ่งเกิดการเกร็งตัวของเอ็นกล้ามเนื้อหรือการคั่งของของเสียในเนื้อเยื่อ การคั่งของโลหิตใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยลดหรือแก้ไขอาการติดขัด ช่วยให้การ ติดขัดสามารถเคลื่อนไหวได้ ช่วยให้ผิวหนังเกิดความรับรู้ มีความรู้สึกดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อถ่ายเทของเสีย ทําให้การไหลเวียนของโลหิต น้ําเหลืองดี ขึ้น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงรูปร่าง รูปทรงที่ผิดปกติ และช่วยปรับปรุงระบบ หายใจให้คล่องตัวขึ้น

วิธีการนี้นั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเห็นผลได้ภายใน 1 ถึง 2 วันหลังนวด แต่ข้อควรระวัง คือ ต้องเลือกคนที่จะมานวดให้ดีก่อน เพราะบางครั้งคนนวดที่จับเส้นไม่เป็น ทำไม่ถูกหลักการ หรือนวดหนักเกินไปอาจทำให้ร่างกายของเราเกิดอาการเคล็ด หรือกล้ามเนื้อช้ำ เจ็บหนักกว่าเดิมก็เป็นได้

ยานวดคลายเส้น บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลดีที่สุด

5. การออกกำลังกาย

ออฟฟิศซินโดรม รักษา

ที่ได้ผลดีที่สุดในการบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม คือ การว่ายน้ำและโยคะ การว่ายน้ำช่วยให้ได้ขยับทุกสัดส่วนของร่างกาย (โดยเฉพาะในส่วนที่ปวดอย่างไหล่และบ่า) โยคะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับในช่วงเริ่มต้นเพราะตัวแข็ง แต่พอทำๆ ไปตัวก็จะค่อยๆ อ่อนขึ้น ข้อดีของการเล่นโยคะคือคุณสามารถเล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยปกติถ้าวันไหนมีเวลา ในช่วงก่อนนอน เปิดแอปพลิเคชันชื่อว่า Daily Yoga และก็เล่นตามสัก 15-20 นาที

6. การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน

ท่าทางการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องตามอิริยาบถ เทียบกับทุกข้อที่พูดถึงมา ข้อนี้เป็นของที่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากที่สุด เพราะสาเหตุที่ปวดบ่ากับไหล่นั้นเกิดมาจากการนั่งท่าเดิมซ้ำๆ และสาเหตุของการนั่งท่าเดิมซ้ำๆ นั้น เกิดมาจากงานที่ทำการเปลี่ยนงานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานยังสามารถทำได้อยู่ สิ่งแรกที่เปลี่ยนได้ง่ายและควรเปลี่ยนคืออุปกรณ์ในการทำงานซึ่งได้แก่โต๊ะและเก้าอี้ที่ช่วยให้คุณนั่งทำงานได้ตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) ผมแนะนำว่าก่อนที่จะซื้อโต๊ะหรือเก้าอี้ Ergonomics คุณควรที่จะลองใช้ก่อนทุกครั้ง และถ้าคุณใช้แล้วรู้สึกว่ามันต้องฝืนและมันไม่สบายตัว ผมแนะนำให้คุณอย่าพึ่งซื้อและลองหาตัวที่มันเหมาะกับคุณมากกว่าแทน

นอกเหนือจากการรักษาที่กล่าวมาแล้วในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย คือ

7. การรักษาด้วยคลื่นรักษาแบบรวมพลังงาน

ออฟฟิศซินโดรม รักษา

(Focused shockwave therapy) คลื่นกระแทกให้ผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ เนื้อเยื่อที่ต้องการรักษา โดยผลทางตรงพลังงานจาก คลื่นกระแทกนั้นจะส่งผ่านไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย โดยตรงแต่ผลทางอ้อมของคลื่นกระแทกนั้นจะหวังผล การเกิด cavitation bubbles ต่อเนื้อเยื่อ18 การที่คลื่น กระแทกสามารถช่วยลดอาการปวด และการบาดเจ็บใน บริเวณที่ทำการรักษาได้นั้นเป็นผลมาจากเกิดการสร้าง เส้นเลือดขึ้นมาใหม่ (neovascularization) และการเร่งกระบวนการซ่อมแซมโดยไปเพิ่ม growthfactors19 กลไกการเกิดคลื่นกระแทกนั้นแตกต่างจากคลื่น เสียงตรงบริเวณคลื่นทางด้านหน้าในบริเวณที่เป็นแรงดัน ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความเครียดและความหนาแน่นอย่างกะทันหันและเพราะสาเหตุนี้ทำให้คลื่นกระแทก มีวิธีการกระจายคลื่นแตกต่างไปจากคลื่นเสียงแบบเดิม การเดินทางของคลื่นกระแทกนั้นเร็วกว่าเสียงโดย ความเร็วนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มความถี่ของเครื่อง

แต่อย่างไรก็ตามความเข้มของคลื่นกระแทกจะลดลง เร็วกว่าคลื่นเสียง เป็นเพราะว่าพลังงานบางส่วนของ คลื่นกระแทกนั้นถูกกระจายเป็นเป็นพลังงานความร้อน ขณะมีการเคลื่อนที่ของคลื่นกระแทก คลื่นกระแทกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. ชนิด โฟกัส (fESWT)
  2. ชนิดไม่โฟกัสรวมพลังงาน

หรือที่ นิยมเรียกว่าชนิด radial (rESWT) โดยคลื่นกระแทก ชนิดโฟกัส (fESWT) คลื่นที่ออกมานั้นจะลงไปยังจุด ที่ทำการรักษาเท่านั้นในขณะที่คลื่นกระแทกชนิด radial (rESWT) นั้นคลื่นที่ออกมาจะกระจายไปยังเนื้อเยื่อ รอบๆ ที่ทำการรักษาและไม่ได้ให้ผลเสมือนยาชา

โดยพบว่าคลื่นกระแทกชนิด radial ให้ผลการรักษาที่ดี และมีประสิทธิภาพมากกว่าคลื่นกระแทกชนิดโฟกัส เพราะบริเวณที่ทำการรักษานั้นมีขนาดใหญ่คลื่น กระแทกชนิด radial แรงดันสูงสุด และความเข้มของพลังงานที่มากที่สุดจะอยู่บริเวณส่วนบนสุดของ applicator และบริเวณด้านข้างของเนื้อเยื่อแต่คลื่น กระแทกชนิดโฟกัสจุดที่ให้แรงดันสูงสุดและความเข้มของพลังงานที่มากที่สุดจะอยู่บริเวณจุดศูนย์กลางที่ถูกโฟกัสเท่านั้น คลื่นกระแทกชนิด radial มีความเข้มของพลังงานที่แน่นอนทำให้มีอาการปวดขณะทำการรักษาน้อย ผู้ป่วยสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้ มากกว่าคลื่นกระแทกชนิดโฟกัสเมื่อใช้ความเข้มของ พลังงานที่เท่ากัน ดังนั้นการใช้คลื่นกระแทกชนิด radial ในผู้ป่วยโรครองช้ำอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีบริเวณเจ็บปวด ไม่แน่นอนว่าจะให้ผลการรักษาดีกว่าการใช้คลื่นกระแทกชนิดโฟกัส

8. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อ และกระดูก ประมาณ 10 เซนติเมตร คลื่นไฟฟ้าดังกล่าวจะกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด และช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น

โดยสามารถบำบัดได้ทั้งบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง ไหล่ ขา เข่า หรือแม้กระทั่งข้อเท้า หรือแม้แต่กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกไขข้อ ล้วนแล้วแต่สามารถบำบัดได้ด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ และรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่ทำการรักษา โดยไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด เห็นผลทันทีหลังการรักษา และยังสามารถบำบัดอาการที่ปวดจากระบบเส้นประสาทและไม่ใช่เส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อ และกระดูก

ดูการใช้ ประกันสังคม รักษา ออฟฟิศซินโดรม เพิ่มเติม

เคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Be Fit)
  2. ระวังเรื่องของท่าทาง บุคลิกของตัวเอง อย่าไหล่ห่อ อย่านั่งค่อม
  3. ในเรื่องของการยกของจากพื้นควรระวัง ใช้ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
  4. วางแผนการเคลื่อนไหวบนโต๊ะทำงาน โดยการจัดโต๊ะทำงาน หรือพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม ควรจัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง และไม่ต้องก้มตัวขึ้นลง หันซ้ายหันขวา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเคล็ดได้
  5. เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5นาที เป็นการแก้ปัญหาได้แล้ว เป็นการป้องกันปัญหาได้อีกด้วย
  6. ระมัดระวังการใส่ส้นสูง ถ้าไม่จำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ควรใส่ไม่เกิน 2นิ้ว หรือ 4-5เซนติเมตรเท่านั้น
  7. การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน
  8. ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง ท่ายกที่ดี มุมจุดหมุนและน้ำหนักควรอยู่ใกล้กัน พยายามให้หลังตรงตลอด เพราะมิเช่นนั้นช่วงล่างจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

เทคนิคการยืดเส้นยืดสายระหว่างทำงาน

1.การบริหารกล้ามเนื้อคอ

เริ่มจากนำมือข้างซ้ายอ้อมไปจับศีรษะด้านขวา ดึงมาทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึง นับ 1-10สลับใช้มือข้างขวา นับ 1-10เช่นเดียวกัน จากนั้นประสานมือบริเวณท้ายทอย ดันไปด้านหน้าจนรู้สึกตึง นับ 1-10

2.การบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการปวดไหล่เป็นประจำ โดยยกไหล่ขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10การกดไหล่ลงไปให้สุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10

3.การบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าอก

และแก้ปัญหาไหล่ห่อ ให้ลุกขึ้นยืน จากนั้นนำมือประสานกันด้านหลัง ค่อยๆ ยกขึ้นมาจนถึงระดับที่เรารู้สึกว่าตึง นับ 1-10การยืดด้านหลัง โดยการกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ให้มือไขว้กันเยอะที่สุด โดยเอามือโอบด้านหลังของตัวเองให้มากที่สุด นับ 1-10

4.การบริหารบริเวณช่วงสะโพก

บางคนมีปัญหาปวดบริเวณสะโพก ชาลงเท้า ชาลงขา จะสามารถบริหารท่านี้ได้ดี ท่าบริหารนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ซึ่งมักจะไปกดทับเส้นประสาททำให้รู้สึกมีปัญหาได้ ทำโดยยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จะรู้สึกบริเวณต้นขาด้านซ้าย นับ 1-10จากนั้นสลับเท้าด้านขวา

5.การบริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง

ยืดมือขึ้นบนสุดประกบกัน จากนั้นเอนตัวทางด้านซ้าย นับ 1 -10 จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา นับ 1-10 ท่าบริหารดังกล่าวควรทำบ่อยๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อมัดหลักๆ ในร่างกาย สละเวลา 3-5นาที เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรง

บทส่งท้าย ออฟฟิศซินโดรม รักษา อย่างไร

การที่จะทำให้ “หาย” จากอาการปวดอย่างถาวรนั้น คือ การรักษาที่สาเหตุของปัญหา ให้สภาพของกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท คืนสู่สภาวะปกติ และดีกว่าปกติ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดอาการปวดอีก วิธีการรักษาดังกล่าวเรียกว่า Active Therapy เป็นการรักษาในเชิงป้องกันที่สาเหตุ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆที่อาจทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมจะเป็นการดีที่สุด

วิธีการ รักษา อาการออฟฟิศซินโดรม ให้ “หาย” นั้นอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เบื้องต้นต้องปรับพื้นที่ทำงานให้เหมาะสมกับสรีระของเราให้ได้เสียก่อน ปรับโต๊ะทำงาน เปลี่ยนเก้าอี้ เพื่อให้การนั่งทำงานเป็นท่าที่เหมาะสมมากขึ้น อย่านั่งทำงานต่อเนื่องนานเกิน 60 นาที ลุกไปทำกิจกรรมอื่นบ้าง ยืดเส้นบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย สำหรับคนที่มีอาการหนักมาก อาจต้องทำการรักษาด้วยการฝังเข็ม กายภาพบำบัด ไปจนถึงพักการทำงานไปเลยยาวๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง