ออฟฟิศซินโดรม ประกันสังคม เจ็บป่วยแล้วรักษาฟรีได้ที่ไหนบ้าง

ออฟฟิศซินโดรม ประกันสังคม

ออฟฟิศซินโดรม ประกันสังคม สำหรับคนที่มีอาการป่วยด้วยโรคนี้ สามารถเข้ารับการรักษากับทีมแพทย์และโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานทั่วประเทศและยังสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมในการรักษาได้ด้วยนะ ดูได้ที่นี่ นอกจากจะเป็นอาการป่วย เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อแล้ว ก็ยังมีโรคอื่นๆ ที่เป็นภัยร้ายแอบแฝงอีก อย่างเช่น โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นได้เช่นกันกับชาวมนุษย์ออฟฟิศทั้งหลาย

ดูแลสุขภาพชีวิตครบในทุกด้านกับ Summerteas

ออฟฟิศซินโดรม ประกันสังคม จะใช้รักษาอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคฮิตของวัยทำงาน เป็นอาการภัยเงียบที่สามารถเกิดได้กับทุกคนในการทำงาน อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น นั่งทำงานท่าเดิม ๆ นานเกินไป สำหรับบางคนอาจจะรุนแรงเป็นอาการเรื้อรัง ส่งผลเป็นปัญหาในการทำงานได้ อาการต่างๆ ที่อาจจะเป็น ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เช่น ปวดหลัง ,ปวดคอ บ่า ไหล่ ,ปวดข้อมือ ,ปวดหัว หากมีอาการเหล่านี้ เพื่อนๆ อาจะมีความเสี่ยงจะเป็น ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ได้ การรักษาโรคนี้ สามารถปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อจ่ายยาบรรเทาอาการ หรือ ใช้วิธีการฝังเข็มเพื่อรักษาร่วมด้วย หากเรารู้อาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเองได้

หากเริ่มรู้สึกเมื่อยล้า ควรพักการทำงานเพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง เช่น ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศด้านนอกบ้างสัก 5-10 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและสายตาได้เป็นอย่างดี และในระยะยาว เพื่อน ๆ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายจะช่วยให้ ร่างกายแข็งแรงและ ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และช่วยเอ็นและข้อสามารถยืดหยุ่นได้ดี ที่สำคัญยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ดีอีกด้วย

บางคนก็ไม่อยากไปหาหมอ เพราะกลัวว่าจะใช้เงินประกันสังคมไม่ได้ แล้วถ้าออกเงินเองอาจจะหลายบาท ก็เลยเลือกที่จะปล่อยมันไป การใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษา ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สามารถทำได้ฟรี โดยการเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิกโรคจากการทำงาน หรือโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันตนไว้ หากได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม จะได้รับการรักษาตามแพทย์สั่ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หรือทำประกันสุขภาพส่วนตัวเอาไว้โดยต้องดูรายละเอียดให้คุ้มครองโรคที่เรามีแนวโน้มว่าจะเป็นด้วย

ออฟฟิศซินโดรม ประกันสังคม

ออฟฟิศซินโดรม หากไม่รีบรักษาอาจก่อให้เกิดโรคอันตรายดังต่อไปนี้

  1. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  2. กระดูกสันหลังคด (อาการนี้เห็นบ่อยมากกก)
  3. แขนขาอ่อนแรง ถ้ารุนแรงมาก อาจทำให้กล้ามเนื้อหด ยึด ตึง
  4. โรคซึมเศร้า อันมาจากความเครียด ความกดดัน และบรรยากาศไม่ดีในที่ทำงาน
  5. ไขมันในเลือดสูง จากการกินอาหารจุบจิบในเวลาทำงาน และไม่มีเวลาออกกำลังกาย
  6. โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ยานวดคลายเส้น บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลดีที่สุด

1.การใช้สิทธิประกันสังคมผ่านทาง คลีนิกโรคจากการทำงาน

คลินิกโรคจากการทำงาน คืออะไร?

กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญยิ่งของประเทศ โดยได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้ง “โครงการศูนย์โรคจากการทำงาน” ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2548

1) วัตถุประสงค์

  • จัดให้มีระบบการดูแลสุขภาพและการวินิจฉัยโรคจากการทำงานของลูกจ้าง
  • ดูแล รักษา หลังจากการเกิดโรคและอุบัติเหตุ
  • พัฒนาคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และเครือข่าย ตลอดจนแนวทางการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน
  • สร้างระบบป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นธรรม

2) วิธีการเข้ารักษาที่คลินิกโรคจากการทำงาน

ลูกจ้างที่สงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน สามารถเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยได้ที่คลินิกโรคจากการทำงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีขั้นตอนในการเข้ารับบริการ ดังนี้

1. ยื่นแจ้งการประสบอันตรายฯ ตามแบบ กท.16 ต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา เพื่อขอหนังสือส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ให้บริการคลินิกโรคจากการทำงาน หรือติดต่อคลินิกโรคจากการทำงานโดยตรง

2. กรณีถือบัตรรับรองสิทธิของโรงพยาบาลที่ให้บริการคลินิกโรคจากการทำงาน สามารถเข้ารับบริการได้ โดยติดต่อคลินิกประกันสังคมเพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น หากพยาบาลที่คัดกรองโรคหรือแพทย์ผู้ทำการตรวจวินิจฉัยสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน จะส่งต่อไปยังคลินิกโรคจากการทำงาน

3. กรณีลูกจ้างเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยไม่ได้แจ้งการประสบอันตราย หากผลการตรวจวินิจฉัยพบว่า ลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงาน ให้แจ้งนายจ้างยื่นแบบการประสบอันตรายฯ (กท.16) ต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน 15 วัน เพื่อให้โรงพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนของกองทุนเงินทดแทน จากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง

4. กรณีผลการตรวจลูกจ้างไม่เจ็บป่วยจากการทำงาน ลูกจ้างไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากกองทุนเงินทดแทนให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่โรงพยาบาลแล้ว

3.รายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน

สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม หรือที่ รายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลีนิคโรคจากการทำงาน

ดูรายชื่อโรงพยาบาลเพิ่มเติม

กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาล ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานได้แจงไว้ว่า การเข้ารับการรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอก หรือ ผู้ป่วยใน หากเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ ผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เว้นแต่ ผู้ประกันตน ขอพิเศษนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ผู้ประกันตนต้องเสียส่วนต่างเอง ซึ่งรายละเอียดการขอพิเศษ แนะนำให้ผู้ประกันตน สอบถามกับทางสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลโดยตรง

โรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือก ถือเป็น “โรงพยาบาลหลัก” ซึ่งโรงพยาบาลหลักนั้น อาจมีสถานพยาบาลเครือข่าย เช่น โรงพยาบาลระดับรอง หรือคลินิก เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

หากการรักษาโรคบางโรคที่สถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลไม่สามารถรักษาได้ ก็จะส่งตัวไปรักษาที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์ แก่ผู้ประกันตน โดยสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

ดังนั้น ก่อนที่เราจะใช้เงินประกันสังคมรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ก็ต้องตรวจสอบชื่อโรงพยาบาลให้ดีก่อน ถ้าเราไม่สะดวกไปโรงพยาบาลหลัก ก็ตรวจดูว่ามีโรงพยาบาลเครือข่ายที่ไหนให้เราเข้าไปใช้บริการได้บ้าง นอกจากนี้แล้ว การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น เช่น ถ้าแพทย์สั่งให้ทานยาก็ต้องทำตามที่สั่ง หากเราต้องการการรักษาที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง เราต้องจ่ายส่วนต่างเอง เช่น อยากฝังเข็ม หรือครอบแก้วเพิ่ม เราต้องรับผิดชอบส่วนนี้เอาเอง

ออฟฟิศซินโดรม ประกันสังคม

2.การทำประกันสุขภาพ ประกันออฟฟิศซินโดรม

นอกจากประกันสังคมแล้วก็ยังมีประกันสุขภาพที่ปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพของคนวัยทำงาน นำเสนอแผนประกันสุขภาพกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ที่ขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมกลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงานหนักเป็นระยะเวลานาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนวัยทำงานหรือกลุ่ม Sandwich Generation ซึ่งมีอายุระหว่าง 35-49 ปี ที่มักนั่งทำงานติดโต๊ะ และต้องพบกับความเครียดสูง ทั้งจากปัญหาการทำงาน รวมไปถึงชีวิตส่วนตัว โดยประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครองในกลุ่มโรคดังต่อไปนี้

5 กลุ่ม อาการออฟฟิศซินโดรม ที่พนักงานออฟฟิศเจอบ่อย

จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่าส่วนใหญ่เข้ามาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง ปวดบริเวณคอหรือไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งอาการเหล่านี้ในวงการแพทย์เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะ Office Syndrome นอกจากนี้ ยังพบอีกว่ากลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 ที่สำคัญก็คือ ปัญหาความเครียด ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะ Office Syndrome ได้ โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 ในประเทศไทยเคยมีการสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คน พบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว เพื่อที่เราจะได้รู้ถึง สัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม ตั้งแต่เนิ่นๆ

1. ปวดหลังเรื้อรัง

สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังนี้ สาเหตุหลักๆ มักเกิดจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมงเป็นต้นไป ยิ่งถ้าคุณนั่งหลังค่อมด้วยแล้ว ผลกระทบที่ได้รับคงมากกว่าคนที่นั่งหลังตรงแน่นอน เนื่องจากการนั่งหลังค่อมทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อยเกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ รู้สึกง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา และทำให้ศักยภาพในการทำงานไม่เต็มร้อย นอกจากนี้แล้วบางคนอาจมีคำถามว่า ปวดหลังใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม คำตอบคือ ได้ สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่ คลินิกโรคจากการทำงาน

2. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็น นิ้วมือ

สำหรับอาการนี้สามารถพบได้มากขึ้นจากเดิม เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนใช้โทรศัพท์ทัชสกรีนกันมากขึ้น อีกทั้งในการทำงานเองก็ต้องจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้

3. ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง

สำหรับอาการไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรังนั้นสาเหตุหลักเกิดจากการที่คุณพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ มีความเครียดค่อนข้างมาก และขาดฮอร์โมนส์บางชนิด

4. กรดไหลย้อน

คนที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รีบมากจนเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เครียดจัดจนอาหารไม่ย่อย และคนที่สูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด มักเสี่ยงกับการเป็น โรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาเป็น 10 ปี อาจนำไปสู่การเกิด โรคมะเร็งหลอดอาหารส่วนปลาย ได้อีกด้วย

5. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การที่นั่งทำงานนานๆ จนบางครั้งลืมเข้าห้องน้ำ หรือ อั้นปัสสาวะบ่อยๆ อาจจะกลายเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียได้เข้าไปทางท่อปัสสาวะ โดยโรคนี้สามารถพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

และนี่คือ กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่มนุษย์เงินเดือนหลังพิงพนักเก้าอี้ต้องเจอ หากปล่อยไว้ ไม่ใส่ใจ และละเลย โรคพวกนี้อาจถามหาได้ ทางที่ดีสัก 1 ชั่วโมงในการทำงาน ควรลุกไปเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ หรือลุกขึ้นเดินสักหน่อย เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับตัวเอง อย่างน้อยๆ สายตาก็จะละจากคอมพิวเตอร์ที่จ้องมาเป็นเวลานาน ทั้งหมดก็ป้องกันออฟฟิศซินโดรมที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วควรไปพบแพทย์โดยใช้สิทธิประกันสังคมหรือประกันสุขภาพที่ทำไว้ อย่าปล่อยไว้เพราะอาจทำให้เกิดโรคอันตรายอื่นๆ ตามมาได้

บทส่งท้าย

หากเรารู้ตัวว่ามีอาการป่วยด้วยโรค ออฟฟิศซินโดรม อย่ารอช้า ควรรีบรักษาโดยการใช้สิทธิ์ ประกันสังคม เข้ารับการรักษาอาการป่วยตามโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะได้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ และทำให้ร่างกายกลับมาดีได้อีกครั้ง ไม่ควรปล่อยให้อาการลุกลาม เพราะนอกจากจะทำให้รักษายากแล้ว ยังทำให้เป็นโรคอื่นที่รุนแรงมากขึ้นอีกด้วย

ด้วยรักและห่วงใย

Summerteas ดูแลสุขภาพคนวัยทำงาน ให้แข็งแรง